Outcome of Diabetic Patient Management by Proactive Pharmaceutical Care Service

Authors

  • Ananya Songmuang
  • Thanatcha Songmuang
  • Nuntikorn Jampasa

Keywords:

diabetic clinic, pharmaceutical care, คลินิกเบาหวาน, บริบาลเภสัชกรรม

Abstract

Background and objective: Proactive pharmaceutical care in Warinchamrab hospital has been  initiated since 2015 at diabetic clinic as a pilot project by screening patients while awaiting for doctor's visit. The objective of this study was to evaluate the occurrence of drug related problems (DRPs) and clinical outcomes.

Methods: Diabetic patients with FBS > 200 mg/dL who visited at outpatient pharmacy clinic, Warinchamrab hospital were retrospectively screened from electronic medical record from January 1, 2014 to December 31, 2015. Data were analyzed by using descriptive statistics and McNemar test.

Results:From overall 509 patients, 65.4% of them were female. The average age and duration of diabetes were 58.62±10.52 and 9.90±5.43 years, respectively. Metformin and sulfonylurea were prescribed for 61.9%. Two hundred and twenty eight and 568 of DRPs were detected during year 2014 and 2015, respectively. DRPs were significantly higher (p < 0.05) in every categories, except for untreated indication and non-adherence. Pharmacist’s intervention was accepted by the physician as high as 91.6%. Patients with non-adherence were properly monitored increasing from 40.6% to 92.4%. The proportion of patient who met the HbA1c and FBS goal had increased significantly (p < 0.001).

Conclusions:Proactive pharmaceutical care is helpful to support the pharmacist in'

ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยการบริบาลทางเภสัชกรรมแบบเชิงรุก

หลักการและวัตถุประสงค์: การบริบาลทางเภสัชกรรมแบบเชิงรุกของโรงพยาบาลวารินชำราบเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2558 นำร่องที่คลินิกเบาหวาน โดยคัดกรองผู้ป่วยมาพบเภสัชกรระหว่างรอพบแพทย์ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินผลการดำเนินงานในด้านการค้นพบปัญหาจากการใช้ยา และผลลัพธ์ทางคลินิก

วิธีการศึกษา: คัดกรองผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 มก./ดล. ที่เข้ารับบริการ ณ คลินิกจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวารินชำราบ จากฐานข้อมูลเวชระเบียนอิเล็คทรอนิกส์ ย้อนหลังในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ McNemar test

ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมด 509 ราย พบเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.4 มีอายุเฉลี่ยและระยะเวลาเฉลี่ยในการเป็นเบาหวานเท่ากับ 58.62 ± 10.52  และ 9.90 ± 5.43 ปี ตามลำดับ ร้อยละ 61.9 ได้รับยา metformin ร่วมกับ sulfonylurea ปัญหาจากการใช้ยาถูกค้นพบเป็นจำนวน 228 และ 568 ครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2557 และ 2558 ตามลำดับ ทุกปัญหามีสัดส่วนการถูกค้นพบมากขึ้น (p <0.05) ยกเว้น ผู้ป่วยไม่ได้รับการสั่งใช้ยาที่ควรได้รับ และผู้ป่วยมีปัญหาความร่วมมือในการใช้ยา การปรึกษาแพทย์โดยเภสัชกรได้รับการยอมรับร้อยละ 91.6 การติดตามผู้ป่วยที่มีปัญหาความร่วมมือในการใช้ยา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.6 เป็น 92.4 สัดส่วนผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c และ FBS อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายเพิ่มขึ้น (p <0.001)

สรุป: การบริบาลทางเภสัชกรรมแบบเชิงรุก ทำให้เภสัชกรค้นพบและติดตามแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานได้มากขึ้น และช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายได้มากขึ้น

Downloads

How to Cite

1.
Songmuang A, Songmuang T, Jampasa N. Outcome of Diabetic Patient Management by Proactive Pharmaceutical Care Service. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Jun. 24 [cited 2024 May 2];32(3):236-43. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/90593

Issue

Section

Original Articles