Optimizing Preoperative Blood Ordering for Pediatric Cardiovascular and Thoracic Surgery in Srinagarind Hospital and Queen Sirikit Heart Center of the Northeast, Khon Kaen University

Authors

  • Sarinya Chanthawong
  • Alisa Neramittagapong
  • Suparit Silarat
  • Penvisa Naewthong
  • Sunittra Boonmala

Keywords:

Preoperative blood ordering, Pediatric patient, Cardiovascular and thoracic surgery, การเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดผู้ป่วยเด็กการผ่าตัดศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก

Abstract

Background and Rationale : Preoperative over-ordering of blood leads to blood bank resources and money consuming; also increase the workload of blood bank personnel. To improve preoperative blood ordering guidelines, the researchers aimed to study the appropriateness of preoperative blood ordering in elective pediatric cardiovascular and thoracic surgery, which require large volume of preoperative blood and blood component ordering and large volume of replacement.

Methodology: This was a retrospective descriptive study. Preoperative blood ordering, surgical day blood transfusion and perioperative blood transfusion within 24 hours post operatively were recorded from elective pediatric cardiothoracic surgery at Srinagarind Hospital and Queen Sirikit Heart Center of the Northeast during one year period (January to December 2014). The optimal blood ordering was calculated by cross-match to transfusion ratio (C/T ratio), Transfusion probability (%T) and Transfusion index (Ti).

Results: Two hundreds and thirty-seven pediatric patients were included in this study. Packed red cells (PRC) were ordered 829 units, and PRC used intraoperatively and 24 hours peri-operatively were 322 units (40%). Calculated for all the operations, the C/T ratio was 2.5 and average % T and Ti were 70.4 and 1.4 respectively. Classified by type of operations, the average of close heart surgery C/T ratio was 6.12. The top 3 highest C/T ratio operations were patent ductus arteriosus ligation, Blalock-Taussig shunt and lung lobectomy. While the average of open heart surgery C/T ratio was 2.2. The operations which have C/T ratio > 2.5 were arterial switch and atrial septal defect closure (C/T ratio 4 and 3.52, respectively). The cost of preparing blood in those operations in this study was 207,250 baht, and the cost of preparing non-using blood was wasted 134,190 baht.

Conclusion : Preoperative blood ordering in elective pediatric cardiothoracic surgery is over in some procedure. Therefore, to optimize the preoperative blood ordering, this study result should be implemented to create a guideline for preoperative blood ordering. However, the patients’ safety should be considered.

 

ความเหมาะสมในการเตรียมเลือดเพื่อผ่าตัดในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอกกรณีไม่เร่งด่วน ใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์และศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

หลักการและวัตถุประสงค์: การเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดที่มากเกินความจำเป็นและไม่สอดคล้องกับการใช้จริงในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการผ่าตัด อาจส่งผลกระทบต่อระบบการสำรองเลือด เพิ่มภาระงานของเจ้าหน้าที่และสูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นทีมผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาความเหมาะสมในการเตรียมเลือดเพื่อผ่าตัดในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอก เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่มีการเตรียมเลือดและใช้เลือดปริมาณมาก เพื่อนำผลการศึกษาครั้งนี้มาพัฒนาแนวทางในการเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดต่อไป

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลการเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดและการใช้เลือดตามจริงภายใน24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกกรณีไม่เร่งด่วน ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์และศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลา 1 ปี (มกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ.2557)และนำมาคำนวณความเหมาะสมในการจองเลือดจากค่าcross-match to transfusion ratio (C/T ratio), Transfusion probability (%T) และ Transfusion index (Ti)

ผลการศึกษา :  ผู้ป่วยเด็กทั้งหมด 237 ราย มีการเตรียมเลือด(Packed red cell, PRC) เพื่อการผ่าตัดทั้งหมด 829 ยูนิต และได้ใช้ PRCในระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมงจำนวน 332 ยูนิต คิดเป็นร้อยละ 40ของจำนวนเลือดที่เตรียมไว้ การผ่าตัดทั้งหมดมีค่า C/T ratio เท่ากับ 2.5 ค่า %T และ Ti เฉลี่ย คือ 70.4และ 1.4ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามชนิดการผ่าตัด พบว่า การผ่าตัดหัวใจแบบปิด (close heart) มีค่าC/T ratio เฉลี่ยเท่ากับ 6.12 การผ่าตัดที่มีค่า C/T ratio มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ Patent ductus arteriosus ligtion, Blalock-Taussigshunt และ lung lobectomy ส่วนการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (open heart) มี C/T ratio เฉลี่ยเท่ากับ 2.2การผ่าตัดที่มีค่า C/T ratio มากกว่า 2.5 ได้แก่ arterial switch และ atrial septal defect closure(C/T ratio เท่ากับ 4 และ 3.52 ตามลำดับ)เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดในการศึกษาครั้งนี้ทั้งหมดคิดเป็นเงิน 207,250 บาท และค่าใช้จ่ายที่สูญเสียไปจากการเตรียมเลือดที่ไม่ถูกใช้คิดเป็นเงิน 134,190 บาท

สรุป :การสั่งเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอกกรณีไม่เร่งด่วนที่มากเกินความจำเป็นในบางหัตถการ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัด ควรมีการนำใช้ผลการศึกษานี้เพื่อจัดทำแนวทางการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดโดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก

Downloads

How to Cite

1.
Chanthawong S, Neramittagapong A, Silarat S, Naewthong P, Boonmala S. Optimizing Preoperative Blood Ordering for Pediatric Cardiovascular and Thoracic Surgery in Srinagarind Hospital and Queen Sirikit Heart Center of the Northeast, Khon Kaen University. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Jun. 24 [cited 2024 Nov. 23];32(3):244-51. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/90594

Issue

Section

Original Articles