บทบาทของภาพทางรังสีวินิจฉัยในภาวะความพิการของใบหน้าและศีรษะ

Authors

  • วรินทร พุทธรักษ์

Abstract

            ผู้ป่วยภาวะความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ ซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วยหลายภาวะรวมเข้าด้วยกัน เช่น ภาวะปากแหว่งและหรือเพดานโหว่, โรคงวงช้าง, ใบหน้าไม่เท่ากันตั้งแต่กำเนิด, ความพิการที่เกิดจากอุบัติเหตุ และความพิการที่เกิดหลังจากที่ตัดรักษาโรคมะเร็งบริเวณใบหน้าและศีรษะ เป็นต้น ความซับซ้อนของความผิดปกติดังกล่าวเกิดจากการมีความผิดปกติของหลายระบบร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย ความพิการบริเวณใบหน้าและศรีษะ, ความผิดปกติระบบประสาท, ความผิดปกติของตา, ความผิดปกติของหู และความผิดปกติของการสบฟัน เป็นต้น นอกจากความผิดปกติของความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ ยังพบปัญหาอื่นๆร่วมได้ เช่น ความผิดปกติอื่นๆที่รวมกันเป็นซินโดรม ปัญหาการเจริญเติบโตและวิวัฒนาการของเด็ก และความผิดปกติของมือ เป็นต้นความซับซ้อนของการรักษาอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ป่วยต้องรับการรักษาแก้ไขภาวะดังกล่าวตั้งแต่แรกคลอด จนโตเป็นผู้ใหญ่ หรืออย่างน้อยอายุ 20 ปี                       

            ด้วยเหตุผลดังกล่าวการดูแล และรักษาผู้ป่วยภาวะความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ ผลการรักษาที่ดีจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการดูแลรักษาแบบองค์รวมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางจากหลายสาขา เช่น ศัลยศาสตร์ตกแต่ง ศัลยศาสตร์ระบบประสาท โสต ศอ นาสิกและการฝึกพูด จักษุวิทยา รังสีวิทยา กุมารเวชศาสตร์ วิสัญญี ทันตแพทย์(จากหลายสาขา เช่น เด็ก จัดฟัน และทันตกรรมประดิษฐ์) และแผนกการพยาบาลที่ชำนาญการพิเศษ เป็นต้น

Downloads

How to Cite

1.
พุทธรักษ์ ว. บทบาทของภาพทางรังสีวินิจฉัยในภาวะความพิการของใบหน้าและศีรษะ. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Jul. 27 [cited 2024 Dec. 25];32(4):33-6. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/94289

Issue

Section

บทความ