ผลของการใช้ยาพ่นดอกปีบในผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้น

Authors

  • เหมราช ราชป้องขันธ์
  • จุฑามาศ ไวว่อง
  • อรทัย อุทัยศรี
  • ปิยพร สิทธิมาตย์

Keywords:

ยาพ่นดอกปีบ, โรคหืด, โรคปอดอุดกั้น

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์ : ตำรายาไทยดอกปีบ มีกลิ่นหอม มีรสหวานขม ขยายหลอดลม ดอกใส่ปนกับยาไทย มวนเป็นบุหรี่สูบรักษาหืด สูบแก้ริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบ แก้ลมชัก สารสกัดเมทานอลจากดอกปีบ มีฤทธิ์ขยายหลอดลมในหนูทดลอง สาร hispidulin จากดอกปีบมีฤทธิ์ต้านการชัก ทำให้หนูสงบระงับการถูกเหนี่ยวนำอาการลมชักได้ ในปี พ.ศ. 2559 สถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง/โรคหอบหืด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ช่วงปี พ.ศ. 2557, 2558, 2559 พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี คือ จำนวน 1,149/2, 181 ราย, 1,187/2,  262 ราย และ 1,213/2,320 ราย ตามลำดับ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของยาพ่นดอกปีบมีฤทธิ์ต่อการขยายหลอดลมในผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้น 

วิธีการศึกษา :  เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง วัดผลก่อนและหลังดำเนินงาน (Experimental pretest-posttest Design) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นอาสาสมัครที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันว่าเป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) จำนวน 30 ราย และโรคหอบหืด (Asthma) จำนวน 30 ราย ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ที่ไม่ได้รับยาพ่นดอกปีบ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์  โดยวัด Peak Expiratory Flow Rate variability (PEFR) ก่อนให้ยาพ่นดอกปีบสกัดด้วยเอทานอล 95 % จำนวน 3 มิลลิลิตร จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 15 นาที ด้วยเครื่องพ่นออกซิเจนและวัดค่า PEFR หลังให้ยาพ่นดอกปีบ นัดพ่นยาซ้ำ จำนวน 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน

ผลการศึกษา :  พบว่า ยาพ่นดอกปีบทำให้ค่า PEFR ของผู้ป่วย Asthma เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.09, Re-admit เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67, Acute Exacerbation เท่าเดิม, MMRC scale ดีขึ้นร้อยละ 100  และค่า PEFR ของผู้ป่วย COPD เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.81, Revisit ลดลงร้อยละ 10, Acute Exacerbation ลดลงร้อยละ 20  การหายใจลำบาก (Modifiled Medical Research Council) ดีขึ้นร้อยละ 100, 6MWT (6-minute walk test) ดีขึ้นร้อยละ 90 และดัชนีคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (CAT score) ดีขึ้นร้อยละ 95  

สรุป :   ตำรับยาพ่นดอกปีบทำให้ค่า PEFR ของผู้ป่วย Asthma และผู้ป่วย COPD เพิ่มขึ้น และคุณภาพของชีวิตดีขึ้น และก่อนและหลังการใช้ยาพ่นดอกปีบชีพจรปกติไม่แตกต่างกัน

Downloads

How to Cite

1.
ราชป้องขันธ์ เ, ไวว่อง จ, อุทัยศรี อ, สิทธิมาตย์ ป. ผลของการใช้ยาพ่นดอกปีบในผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้น. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Jul. 27 [cited 2024 May 5];32(4):64. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/94310

Issue

Section

Abstract of Interesting