วิเคราะห์ผลการเพาะเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะที่ส่งตรวจที่ หน่วยจุลชีววิทยาคลินิก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปี พ.ศ.2559

Authors

  • แววตา คู่วัจนกุล
  • ลำใย วงลคร

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์: การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection : UTI) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนหรือทำให้มีอัตราการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญการเพาะเชื้อจากปัสสาวะ เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งเชื้อก่อโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อเพาะเลี้ยงเชื้อจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การเก็บตัวอย่างให้ถูกต้องหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน เก็บตัวอย่างให้ได้ปริมาณพอเหมาะ ใส่ภาชนะเหมาะสม และนำส่งอย่างถูกต้อง จึงจะทำให้ผลการตรวจวิเคราะห์ถูกต้อง แม่นยำน่าเชื่อถือ ในปัจจุบันยังไม่เคยมีการวิเคราะห์ผลการเพาะเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะ จึงไม่มีข้อมูลต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเพาะเชื้อจากปัสสาวะ จึงได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผลการเพาะเชื้อจากปัสสาวะ ที่ส่งตรวจที่หน่วยจุลชีววิทยาคลินิก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ร้อยละของผลการเพาะเชื้อที่มีการเจริญของเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อต่อสารต้านจุลชีพ (Growth with Susceptibility Test)

วิธีการศึกษา : เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม  ถึง 31 ธันวาคม 2559  จากการเพาะเชื้อที่มีเชื้อเจริญหลายชนิดและไม่ได้ทดสอบความไวของเชื้อต่อสารต้านจุลชีพ (Mixed growth culture) ผลการเพาะเชื้อที่ไม่มีเชื้อเจริญ (No growth) หาร้อยละของผลการเพาะเชื้อเป็น Mixed growth culture ในหอผู้ป่วยในหอผู้ป่วยนอกและวิเคราะห์ร้อยละการตรวจพบเชื้อดื้อยาหลายขนาน (MDR) เชื้อแบคทีเรียดื้อยากลุ่ม Carbapenem (CRE) และเชื้อ Enterococcus ที่ดื้อต่อยา Vancomycin (VRE) วิเคราะห์ข้อมูลผลการเพาะเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะที่บันทึกจากโปรแกรม MLAB ของหน่วยจุลชีววิทยาคลินิก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2559 ด้วยโปรแกรม Microsoft  Excel และ Pivot Table

ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะที่ส่งเพาะเชื้อทั้งหมดจำนวน13,539ตัวอย่าง  ส่งจากผู้ป่วยนอกจำนวน 3,814  ตัวอย่าง (ร้อยละ 28.2) ส่งจากผู้ป่วยในจำนวน 9,725  ตัวอย่าง (ร้อยละ 71.8) การรายงานผลเป็น No growth  จำนวน 4,968  ตัวอย่าง (ร้อยละ 36.7)  รายงานผลเป็น  Mixed  growth culture จำนวน 2,027  ตัวอย่าง (ร้อยละ 15.7)  และรายงานผลเป็นพบเชื้อพร้อมผลการทดสอบความไวของเชื้อต่อสารต้านจุลชีพ  จำนวน 6,544 ตัวอย่าง (ร้อยละ 48.3ชนิดของเชื้อที่พบมากที่สุดคือ Escherichia coli (ร้อยละ 29.6), Candida albicans (ร้อยละ 9.5), Kebsiellapneniae (ร้อยละ 8.0) ตามลำดับ พบเชื้อดื้อยา MDR ร้อยละ 16.4, CRE ร้อยละ 2.7, VRE ร้อยละ 2.6

สรุป: จากการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ทราบร้อยละของผลการเพาะเชื้อแต่ละชนิด โดยเฉพาะผลการเพาะเชื้อที่รายงานผลเป็น Mixed growth culture ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการเก็บปัสสาวะไม่เหมาะสม หรือเก็บไว้อุณหภูมิห้องนานเกินไป จากข้อมูลทำให้ได้แนวทางในการที่จะนำผลการวิเคราะห์ ไปพัฒนาการเพาะเชื้อจากปัสสาวะต่อไป

Downloads

How to Cite

1.
คู่วัจนกุล แ, วงลคร ล. วิเคราะห์ผลการเพาะเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะที่ส่งตรวจที่ หน่วยจุลชีววิทยาคลินิก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปี พ.ศ.2559. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Jul. 27 [cited 2024 Nov. 23];32(4):77. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/94331

Issue

Section

Abstract of Interesting