Waiting Time for Emergency Operating Room During After-Office Hours in Srinagarind Hospital

Authors

  • Anongnat Prabnongbua
  • Polpun Boonmak
  • Manthana Katesiri
  • Suhattaya Boonmak
  • Kesorn Sitthisart
  • Poonpissamai Ngeunphukeaw

Keywords:

after-office hour, emergency, surgery, นอกเวลาราชการ, ระยะเวลา, ห้องผ่าตัด, ภาวะฉุกเฉิน

Abstract

Background and objective:  Emergency operating room after-office hours in Srinagarind hospital triaged patients into four types (true emergency, emergency, urgent, and elective cases) by operation urgency. Our aims were to evaluate waiting time for operation and associated factors.

Method: This was a prospective descriptive study. We studied in patients who receive service in emergency operating room after-office hours. Data were sought from medical record and study record. Patients were triaged into emergency condition group by surgeons. We recorded process time from request for service until finished procedure. We also recorded the obstacle.

Result: One hundred and thirty-three patients were included into study. None of true emergency cases received procedure within 15 minutes. Seventy-six percent of emergency cases received procedure within 1 hours. Eighty-six percent of urgency cases received procedure within 6 hours. And all elective cases received procedure within 24 hours. We found obstacles were insufficient operating room and personnel.

Conclusion: After-office hours emergency operating room had opportunities to improve especially in true emergency cases.  However, other  groups  required shortening waiting time. Most common obstacle were insufficient operating room and personnel. 

 

ระยะเวลารอใช้ห้องผ่าตัดฉุกเฉินช่วงนอกเวลาราชการของโรงพยาบาลศรีนครินทร์

อนงนาฎ ปราบหนองบั่ว1, พลพันธ์ บุญมาก2*, มัณฑนา เกตุศิริ1, สุหัทยา บุญมาก2, เกษร สิทธิศาสตร์1, พูนพิสมัย เงินภูเขียว2

1แผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002

2ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002

 

หลักการและวัตถุประสงค์: ห้องผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ให้บริการผู้ป่วยโดยแบ่งตามความเร่งด่วนเป็น ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก ฉุกเฉิน ด่วน และทั่วไป ดังนั้นจึงต้องการทราบระยะเวลารอใช้ห้องผ่าตัดฉุกเฉินช่วงนอกเวลาราชการของผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการให้บริการ

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่รับบริการที่ห้องผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ โดยใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยและแบบบันทึกข้อมูล ผู้ป่วยถูกแบ่งกลุ่มตามความเร่งด่วนของความต้องการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ ผู้ร่วมวิจัยบันทึกเวลาในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่เมื่อมีความต้องการใช้ห้องผ่าตัดไปจนการทำผ่าตัดแล้วเสร็จ และบันทึกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วย 133 ราย ผู้ป่วยฉุกเฉินมากไม่มีรายใดได้รับการผ่าตัดภายใน 15 นาที ผู้ป่วยฉุกเฉินร้อยละ 76.5 ได้รับการผ่าตัดภายใน 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยด่วนร้อยละ 86.6 ได้รับการผ่าตัดภายใน 6 ชั่วโมง และผู้ป่วยทั่วไปทั้งหมดได้รับการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง ปัญหาที่ทำให้ล่าช้าที่พบคือ จำนวนห้องผ่าตัดและเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ

สรุป: การให้บริการห้องผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการมีโอกาสพัฒนา โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินมากส่วนผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ควรต้องลดระยะเวลารอผ่าตัด โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกิดจากห้องผ่าตัดไม่เพียงพอ และบุคลากรไม่เพียงพอ และมีโอกาสพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับหอผู้ป่วยและศัลยแพทย์ 

Downloads

How to Cite

1.
Prabnongbua A, Boonmak P, Katesiri M, Boonmak S, Sitthisart K, Ngeunphukeaw P. Waiting Time for Emergency Operating Room During After-Office Hours in Srinagarind Hospital. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Aug. 19 [cited 2024 Apr. 26];32(4):320-5. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/96697

Issue

Section

Original Articles