Effect of Whole Body Vibration on Body Composition and Muscular Strength in Overweight Females

Authors

  • Wisutthida Saengjan
  • Orapin Pasurivong
  • Orathai Tunkamnerdthai
  • Nuttaset Manimmanakorn
  • Worrawut Thuwakam
  • Preetiwat Wonnabussapawich
  • Apiwan Manimmanakorn

Keywords:

Percentage of body fat, Waist circumference, Hip circumference, Blood pressure, เปอร์เซ็นต์ไขมัน, เส้นรอบเอว, เส้นรอบสะโพก, ความดันเลือด

Abstract

Background and Objective: Overweight and obesity are associated with many chronic conditions. Exercise is used in term of control body weight which aims to prevent diseases. Generally, overweight may not exercise to the target heart rate which aims to decrease weight. This study investigated the effect of whole body vibration (WBV) training on body weight, other body compositions and muscular strength in overweight females.

Methods: Thirty-sevenover weight females (BMI=25.0-29.9 kg/ m2) were assigned into two groups: control (CT, n=18) and whole body vibration (WBV, n=19). The participants in the WBV group were performed 5 exercise postures during vibration, 3 days a week for 8 weeks. CT group did not perform vibration training. Body composition, muscular strength, heart rate at rest and blood pressure were measured at before and after training.

Results: Compared between CT and WBV groups, WBV showed significant lower in body weight (70.21 ± 9.39 vs  62.56 ±  9.06 kg; p< 0.05), BMI (28.52 ± 2.58 vs 25.73 ± 2.41 kg/m2; p< 0.05), WC (88.10 ±7.82 vs 86.33 ±  8.40 cm; p< 0.05), HC (104.83 ± 3.57 vs 102.00 ± 4.83 cm; p< 0.05)  and BF (28.01 ± 4.10vs21.62 ± 5.54  kg; p < 0.05). Compared with CT group, WBV significantly (p< 0.05) increased muscular strength in most parameters: right and left MVC6 (isometric), right and left number of repetition (isotonic), and concentric and eccentric strength (isokinetic).

Conclusions: The present study revealed that WBV training improved body composition, muscular strength, blood pressure and heart rate at rest in overweight females after 8 weeks of whole body vibration training.

 

ผลของการสั่นสะเทือนทั่วร่างกายต่อองค์ประกอบของร่างกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเพศหญิง

วิสุทธิดา แสงจันทร์1, อรพิน ผาสุริย์วงษ์1, อรทัย ตันกำเนิดไทย1, ณัฐเศรษฐ มนิมนากร2, วรวุฒิ ธุวะคำ3

ปรีติวัฒิน์ วรรณบุษปวิช4,อภิวันท์  มนิมนากร 1*

1ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น40002

2ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002

3ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 53000

4ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 30000

 

หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับโรคเรื้อรังหลายชนิด การออกกำลังกายจึงถูกนำมาใช้ในการควบคุมหรือลดน้ำหนักเพื่อป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นตามมาแต่ผู้มีภาวะน้ำหนักเกินอาจจะไม่สามารถออกกำลังกายให้มีระดับที่หนักพอเพื่อการลดน้ำหนักได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลของการสั่นสะเทือนทั่วร่างกายต่อน้ำหนักตัว องค์ประกอบของร่างกายอื่นๆและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเพศหญิง

วิธีการศึกษา: อาสาสมัครเพศหญิงที่มีน้ำหนักเกินจำนวน  37 ราย (ดัชนีมวลกาย เท่ากับ 25.0-29.9 กิโลกรัมต่อเมตร2) แบ่งออกเป็น กลุ่มควบคุม (CT) จำนวน 18 ราย และกลุ่มสั่นสะเทือนทั่วร่างกาย (WBV) จำนวน 19 ราย กลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการฝึกส่วนอาสาสมัครกลุ่มสั่นสะเทือนทั่วร่างกาย ทำท่าทางต่างๆ 5 ท่า 3วันต่อสัปดาห์ นาน 2 เดือน อาสาสมัครทั้งหมดจะถูกวัดองค์ประกอบของร่างกายความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออัตราการเต้นของหัวใจ และความดันเลือด ก่อนและหลังการออกกำลังกาย

ผลการศึกษา: พบว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม CT และกลุ่ม WBV ภายหลัง 2 เดือน พบว่า มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ของค่าต่างๆดังนี้ น้ำหนักตัว (70.21 ± 9.39 vs 62.56 ± 9.06กิโลกรัม) ดัชนีมวลกาย (28.52 ± 2.58 vs 25.73 ± 2.41 กิโลกรัมต่อเมตร2) เส้นรอบเอว (88.10  ± 7.82 vs 86.33 ±  8.40 เซนติเมตร) เส้นรอบสะโพก (104.83 ± 3.57 vs 102.00 ± 4.83 เซนติเมตร) และไขมันในร่างกาย (28.01 ± 4.10 vs 21.62 ± 5.54 กิโลกรัม) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาแบบไอโซเมตริก (isometric) ไอโซโทนิก (isotonic) และไอโซไคเนติก (isokinetic) ของขาเพิ่มขึ้น

สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสั่นสะเทือนทั่วร่างกายทำให้องค์ประกอบของร่างกายบางค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความดันเลือด และอัตราการเต้นของหัวใจปรับตัวดีขึ้นในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเพศหญิง

Downloads

How to Cite

1.
Saengjan W, Pasurivong O, Tunkamnerdthai O, Manimmanakorn N, Thuwakam W, Wonnabussapawich P, Manimmanakorn A. Effect of Whole Body Vibration on Body Composition and Muscular Strength in Overweight Females. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Aug. 19 [cited 2024 Dec. 23];32(4):344-50. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/96701

Issue

Section

Original Articles