Prevalence and Related Factors for Overweight among Community Health Volunteers of Tambon Ban Phrao, Mueang Nong Bua Lam Phu District, Nong Bua Lam Phu Province

Authors

  • Watcharin Wanna
  • Piyathida Kuhirunyaratn

Abstract

Background and objectives: Roles of Community Health Volunteers (CHVs) are to promote the community member to improve health behavior and be a role model for health and nutritional status. This study aimed to explore the prevalence and related factors in overweight among CHVs of Tambon Ban Phrao, Mueang Nong Bua Lam Phu District, Nong Bua Lam Phu Province.

Methods: The descriptive study was conducted and studied population were 169 CHVs who registered at Tambon Ban Phrao Health Promotion Hospital, Mueang Nong Bua Lam Phu District, Nong Bua Lam Phu Province. The study tool was the questionnaire which confained 2 parts,  general information and behaviors that might affect to nutritional status which approved by the content experts and the reliability test was 0.81. The Calibrated weight and height scale were measured by public health officers. Statistical used were frequency, percentage, mean, SD, Chi-square, Fisher Exact test, 95%CI and Odds ratio.

Results: The response rate was 90.5%. Most of respondent were females, mean age 49± 8.09 years, married, completed secondary school and lower, and working as farmers.  This study found prevalence of overweight (BMI ≥23 Kg./M.2) among CHVs was 68% 95%CI= 59.89,75.15. The prevalence of obesity (BMI ≥25 Kg./M.2 ) was 42.5%. This study also found age of CHVs were statistically significant related with the overweight status among CHVs. (p<0.05)

Conclusions: This study found high prevalence of over nutrition and obesity among health volunteers. Model development to improve the nutritional status should be prioritized in a group of health volunteers aged under 60 years old.   

 

การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะน้ำหนักเกินในอาสาสมัครสาธารณสุข               ประจำหมู่บ้าน ในเขตตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

วัชรินทร์ วรรณา1, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์2

1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

2ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

หลักการและวัตถุประสงค์: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาท ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพ และภาวะโภชนาการแก่ประชาชน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะโภชนาการเกิน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องใน อสม. ในเขตตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ศึกษาในประชากรศึกษาทั้งหมดคือ อาสาสมัครสาธารณสุขในเขตตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 169 ราย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามชนิดตอบเอง ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมที่มีผลต่อภาวะโภชนาการที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีค่าความเที่ยงคิดเป็น 0.81 และตาชั่งและเครื่องวัดความสูงที่ผ่านการมีการสอบเทียบเครื่องมือ (Calibrated) และทำการวัดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 Chi-square Fisher Exact test และ Odds ratio

ผลการศึกษา: อัตราตอบกลับคิดเป็น ร้อยละ 90.5 อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 49 ± 8.09 ปี (SD8.09) สถานภาพสมรสคู่ ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น มีอาชีพเกษตรกรรม การศึกษาครั้งนี้พบว่า ความชุกของภาวะโภชนาการเกิน (BMI ≥23 กก./ม.2) ในกลุ่ม อสม. ร้อยละ 68.0 95%CI (59.9, 75.2) โดยมีภาวะอ้วน (BMI ≥25 กก./ม.2) ร้อยละ 42.5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการเกิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ อายุ (p<0.05)

สรุป: อสม. มีความชุกของภาวะโภชนาการเกินที่สูงมาก รวมถึงยังมีความชุกของ อสม.ที่มีภาวะอ้วนสูงเช่นกัน ควรพัฒนารูปแบบ เพื่อลดปัญหาภาวะโภชนาการเกินและภาวะอ้วนใน อสม. โดยเฉพาะในกลุ่ม อสม.ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี

Downloads

How to Cite

1.
Wanna W, Kuhirunyaratn P. Prevalence and Related Factors for Overweight among Community Health Volunteers of Tambon Ban Phrao, Mueang Nong Bua Lam Phu District, Nong Bua Lam Phu Province. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Aug. 19 [cited 2024 Dec. 23];32(4):351-8. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/96702

Issue

Section

Original Articles