Results of Doctor and Nurse’s Complaints: Study in Northeastern of Thailand

Authors

  • Wirut Khunkitti
  • Khanittha Nualthaisong

Keywords:

complaints, criminal law, civil law, prosecute, การร้องเรียน, กฎหมายอาญา, กฎหมายแพ่ง, การฟ้องร้อง

Abstract

Background and objective : Although doctors and nurses have good intentions, sometimes they will have problem which can lead to complaints. The end results from these complaints vary and can have different outcomes. The aims of this study are frequency of complaints, different types of complaints, results of violence, the relationship between gender and complaints and the relationship between duration of working experience and outcome.

Method: This study is a research survey. The sample group is 166 doctors and nurses, working in the Northeastern region of Thailand, who attended academic training from Department of Forensic Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. The research instrument was a questionnaire designed by a researcher. Data collection is provided by self-administered questionnaires. Data analysis is based on frequency and percentage.

Results: The percentage of doctors and nurses who experienced patient complaints is 64.8%. Most of these are civil cases at about 61.0%. The parties have successful conciliation without paying compensation about 41.4%.. Most of the cases ended at the hospital level 61.2%. The experience of being prosecuted in discipline, criminal law, civil law and media has no relation with gender. In the other hand, the working range 11-20 years experienced in criminal complaint (p = 0.004) less than any other groups and using media complaints (p = 0.031) more than any other range with statistically significant.

Conclusion: Most doctors and nurses have complaints filed against them for damages, with each working experience having a chance to be in a different complaint category. However, mediating a complaint at the hospital will be beneficial to all parties.

 

ผลของการร้องเรียนแพทย์และพยาบาล : ศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    ประเทศไทย

วิรุจน์ คุณกิตติ,  ขนิษฐา  นวลไธสง

ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

หลักการและวัตถุประสงค์ : การให้บริการของแพทย์และพยาบาลแม้กระทำด้วยเจตนาดีแต่บางครั้งอาจเกิดปัญหานำไปสู่การร้องเรียนซึ่งผลที่เกิดขึ้นแตกต่างกันในรูปแบบต่างๆ การศึกษานี้ต้องการศึกษาความชุก   รูปแบบต่างๆ ของการร้องเรียน   ความรุนแรงของผลลัพธ์    ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียน   ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาของประสบการณ์ในการทำงานกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ   กลุ่มตัวอย่างคือ แพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เข้าร่วมอบรมทางวิชาการของภาควิชานิติเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 166  คน   เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น   การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง   การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติหาค่าความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษา : ผู้เคยมีประสบการณ์ในการถูกร้องเรียนพบมากถึงร้อยละ 64.8  โดยคดีแพ่งมากที่สุด ร้อยละ 61.0   ผลทางคดีแพ่งนั้นคู่ความไกล่เกลี่ยกันได้สำเร็จโดยไม่จำเป็นต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ร้อยละ 41.4  ส่วนใหญ่คดีสิ้นสุดได้ตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 61.2    ประสบการณ์ในการเคยถูกร้องเรียนทั้งทางวินัย   กฎหมายอาญา   กฎหมายแพ่ง   และทางสื่อนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับเพศ  แต่ช่วงอายุการทำงาน 11-20 ปี เคยมีประสบการณ์ถูกร้องเรียนทางอาญา (p =  0.004) น้อยกว่าช่วงอายุอื่น   และถูกร้องเรียนโดยอาศัยสื่อ (p = 0.031)  มากกว่าช่วงอายุอื่นโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : ส่วนใหญ่แพทย์และพยาบาลถูกร้องเรียนเพื่อหวังให้ค่าชดใช้ความเสียหายซึ่งแต่ละช่วงอายุมีโอกาสถูกร้องเรียนในรูปแบบต่างกัน   การไกล่เกลี่ยเรื่องร้องเรียนให้สิ้นสุดที่โรงพยาบาลได้จะเป็นผลดีต่อทุกฝ่าย

Downloads

How to Cite

1.
Khunkitti W, Nualthaisong K. Results of Doctor and Nurse’s Complaints: Study in Northeastern of Thailand. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Aug. 19 [cited 2024 Apr. 17];32(4):366-71. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/96704

Issue

Section

Original Articles