Interstitial Lung Disease in Cassava Flour Production Worker: A Case Report
Abstract
Background and Objectives: Interstitial lung disease (ILD)can be caused by many diseases or through occupational exposure tovarious hazardous chemicals.Ourstudypresents(a) the clinical information onapatient diagnosed withoccupational ILD likely caused by exposure to multiple chemicals—in hydrochloric acid—and (b) an approach for assessingfitness for duty of workerswith occupational ILD.
Method: Single case report
Results: A 50-year-old northeastern Thai male worker came to hospital with a complaint of 5 years consecutive abnormal spirometrybased on annual periodic examination.All elements of the physical examination were within normal limits. The chest X-ray and HRCT revealed pulmonary fibrosis of both lungs, whichfulfills the diagnostic criteriaforinterstitial lung disease,andahistory, physical examination, and laboratory investigation can rule in/out the specific cause. ILDcan result from chronic occupational exposure to hydrochloric acid; evidenced by pathological assessment of lung parenchyma, confirming that chronic exposure of irritant gas affects the tissue. Ourpatienthad been assessed that there is some risk to wear a respirator based on his abnormal pulmonary function.
Conclusion: The ILD of this patient may have been causedbyoccupational exposure to hydrochloric acid where there is some risk to wear respirator.
โรคพังผืดที่ปอดในพนักงานโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง: กรณีศึกษาผู้ป่วย 1 ราย
ภาณุมาศ ไกรสร1, เนสินี ไชยเอีย1, วิภา รีชัยพิชิตกุล2
1หน่วยอาชีวเวชศาสตร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2หน่วยโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤตภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการ และวัตถุประสงค์: โรคพังผืดที่ปอด เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุหนึ่งคือจากการสัมผัสสารเคมีจำพวกกรดจากการประกอบอาชีพ แต่มักไม่มีผู้รายงานมากนัก การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึง (ก) ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบจากการสัมผัสสารเคมีเรื้อรังหลายชนิด โดยเฉพาะการสัมผัสกรดไฮโดรคลอริก และ (ข) เพื่อศึกษาถึงแนวทางการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยฯ ก่อนกลับเข้าไปปฏิบัติงาน
วิธีการศึกษา: รายงานผู้ป่วยรายเดียว
ผลการศึกษา : พนักงานชาย อายุ 50 ปี สมรสแล้ว ภูมิลำเนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมาพบแพทย์ด้วยผลสมรรถภาพปอดผิดปกติต่อเนื่องติดกัน 5 ปี โดยไม่มีอาการผิดปกติ ตรวจร่างกายไม่พบอาการผิดปกติ ตรวจทางรังสีวิทยาพบว่า ภาพถ่ายรังสีทรวงอกและภาพถ่ายคอมพิวเตอร์ทรวงอกความละเอียดสูงพบลักษณะของพังผืดที่ปอดทั้งสองข้าง วินิจฉัยได้ว่าเข้ากับโรคพังผืดที่ปอดการซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย และตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมทำให้สามารถวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคพังผืดที่ปอดออกไป และนึกถึงสาเหตุจากการทำงานสัมผัสกรดไฮโดรคลอริกอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลานาน จากหลักฐานทางพยาธิวิทยาสามารถบอกถึงผลของการสัมผัสสารจำพวกกรดเรื้อรังว่าทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อในปอดได้ การประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนกลับเข้าไปปฏิบัติงานกับสารเคมีอีกครั้งพบว่าจากผลสมรรถภาพปอดที่ผิดปกติ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการใส่หน้ากาก
สรุป: สาเหตุของโรคพังผืดที่ปอดของผู้ป่วยรายนี้น่าจะเกิดจากการสัมผัสกรดไฮโดรคลอริกจากการทำงาน การประเมินก่อนกลับเข้าทำงานพบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการสวมอุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจประเภทปกป้องสารเคมี