LEGAL MEASURES FOR HEALTH CONSUMER PROTECTION
DOI:
https://doi.org/10.69598/tbps.12.2.85-99Keywords:
การคุ้มครองผู้บริโภค, สุขภาพ, กฎหมาย, consumer protection, health, lawAbstract
มาตรการทางกฎหมายสำหรับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การให้ข้อมูลข่าวสาร กำหนดมาตรฐาน การต้องขออนุญาตก่อนดำเนินการ ไปจนถึงการควบคุมการผูกขาดทางการค้า ทั้งนี้มาตรการเหล่านี้ตั้งอยู่บนหลักการที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) หลักการป้องกันความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า-บริการระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค 2) หลักการป้องกันการผูกขาดทางการค้า นอกจากนี้ด้วยการบริโภคหรือไม่บริโภคสินค้า-บริการด้านสุขภาพที่มีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ จึงทำให้มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคมีลักษณะที่แตกต่างจากสินค้าอื่น ๆ เช่น การบริการรักษาพยาบาลเป็นบริการที่ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือกใช้บริการได้ด้วยตนเอง แต่ในกรณีที่เกิดโรคติดต่อร้ายแรง ผู้ที่สัมผัสโรคติดต่อร้ายแรงจะถูกบังคับให้เข้ารับการตรวจรักษาโดยที่ไม่มีสิทธิปฏิเสธ อย่างไรก็ดีการคุ้มครองผู้บริโภคที่สมบูรณ์นอกจากผู้บริโภคต้องตระหนักรู้ในสิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมายแล้ว จึงต้องขึ้นกับความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ผลิต การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ ศาลผู้บริโภค ตลอดจน องค์กรผู้บริโภคต่าง ๆ ในการประสานความร่วมมือกันปฏิบัติตามกฎหมาย
There are many legal measures for health consumer protection; providing Information, setting standard performance, prior approval, and antitrust law. All of the legal measures are based on 1) prevention for information deficits between entrepreneur and consumer 2) prevention for antitrust behavior. Because of the externalities of health product consumption, legal measures for health consumer protection is different from the other consumer protection, such as enforcement someone who had contact risk agents to take a treatment. However, the perfect health consumer protection depends on the consumer’s awareness about consumer’s right, the responsibility and co-operative of entrepreneur, government agencies, consumer courts, and non-government organization.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
All articles published and information contained in this journal such as text, graphics, logos and images is copyrighted by and proprietary to the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, and may not be reproduced in whole or in part by persons, organizations, or corporations other than the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences and the authors without prior written permission.