การเปรียบเทียบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ภายหลังการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช)

ผู้แต่ง

  • ปราชญา บุตรหงษ์ กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นนทบุรี
  • ระพีพรรณ ฉลองสุข ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.15.1.109-127

คำสำคัญ:

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, การพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) กับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ทั้งก่อนและหลังดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงพยาบาลต้นแบบส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพระดับอำเภอ ซึ่งมีการดำเนินโครงการฯ กับ รพร. ในปีงบประมาณ 2561 ผลการดำเนินงานฯ จากการดำเนินโครงการฯ ได้ถูกนำมาวิเคราะห์จากการเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานฯ ของ รพร. 21 แห่ง และโรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. 79 แห่ง รวมถึงมีการส่งแบบสอบถามให้กับเภสัชกรผู้รับผิดชอบในนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาล 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า รพร. มีผลการดำเนินงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลดีกว่าโรงพยาบาลอื่น 2 ตัวชี้วัด จากทั้งหมด 20 ตัวชี้วัดอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 2 (p=0.038) และตัวชี้วัดที่ 15
(p=0.048) โดยที่ก่อนดำเนินโครงการฯ ผลไม่แตกต่างกัน จากแบบสอบถาม (ตอบกลับร้อยละ 77.0) พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่าง 1) การได้รับงบประมาณกับผลการดำเนินงานในตัวชี้วัดที่ 2 (p=0.039) ตัวชี้วัดที่ 18 (p=0.042) และการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) ที่ผ่านเกณฑ์ทั้งตัวชี้วัดที่ 19 และ 20 (p=0.039) 2) นโยบายของผู้บริหารกับตัวชี้วัดที่ 2 (p=0.011) ตัวชี้วัดที่ 7 (p=0.045) และการดำเนินงานของ รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ 19 และ 20 (p=0.011) 3) การติดตามของผู้บริหารกับตัวชี้วัดที่ 2 (p=0.020) ตัวชี้วัดที่ 10 (p=0.041) และการดำเนินงานของ รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์ทั้งตัวชี้วัดที่ 19 และ 20 (p=0.020) และ 4) ความร่วมมือของผู้สั่งใช้ยากับตัวชี้วัดที่ 6 (p<0.001) ตัวชี้วัดที่ 7 (p=0.002) และตัวชี้วัดที่ 15 (p=0.040) สรุปได้ว่าปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้บริหารและการกำหนดนโยบายมีความสำคัญต่อตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิ ปัจจัยที่เกี่ยวกับความร่วมมือของผู้สั่งใช้ยามีผลต่อตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาล

References

Phumart P, Phodha T, Thamlikitkul V, Riewpaiboon A, Prakongsai P, Limwattananon S. Health and economic impacts of antimicrobial resistant infections in Thailand: a preliminary study. J Health Syst Res. 2012;6(3):352-60. (in Thai)

The Sub-committee on Rational Drug Use Promotion. Rational drug use hospital manual. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Printing House; 2015. (in Thai)

Mininstry of Public Health (Thailand). Public Administration Division. Service plan: rational drug use. Nonthaburi: The Division; 2016. (in Thai)

Food and Drug Administration. National Drug Information (NDI). Situation of rational drug use, problems and related factors [Internet]. Nonthaburi: NDI; 2016 [cited 2018 Jun 9]. Available form: http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/ policy_file/20170801152053.pdf (in Thai)

Cheawchanwattana A, Waleekhachonloet O, Rattanachotphanit T, Kitwitee P, Unlamarn R, Saisunantararom W, et al. Quality of out-patient prescribing: an analysis of 18 standard file datasets of hospitals. J Health Syst Res. 2012;6(2):167-75. (in Thai)

Puyati P, Kanjanarach T. Prevalence and pattern of antibacterial use in upper respiratory tract infections: a study in sub-district health promoting hospitals of Buayai contracted unit of Primary Care in Nakhon Ratchasima Province. Isan J Pharm Sci. 2015;11 Suppl.:253-60. (in Thai)

Pothidorkmai Y. A Model to monitor rational use of antibiotics in Chiang Yuen Hospital, Mahasarakham Province. J Health Sci. 2017;26 Suppl 1:S97-105. (in Thai)

Wilailuk S, Harntanyapong C. Study of antibiotics prescribing in Phayao’s sub-district health promoting hospitals. J Clin Pharm. 2017;23(1):13-20. (in Thai)

Food and Drug Administration. Bureau of Drug control. The cooperation project development of the hospital prototype for consumer health products protection in the sub-district health promoting hospitals during fiscal year 2018. Nonthaburi: The Bureau; 2017. (in Thai)

Sirijatuphat R, Choochan T, Siritongtaworn P, Sripojtham V, Thamlikitkul V. Implementation of antibiotic use guidelines for fresh traumatic wound at Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai. 2015;98(3):245-52.

Chaiyasong C, Tiyapak P, Wongsriya A, Chaiyasong S. Types of wounds and patterns of antibiotic use in trauma patients in Mahasarakham Hospital. J Health Syst Res. 2019;13(1):116-24. (in Thai)

Sumpradit N, Anuwong K, Chongtrakul P, Khanabkaew K, Pumtong S. Outcomes of the antibiotics smart use project: a pilot study in Saraburi Province. J Health Sci. 2010;19(6):899-911. (in Thai)

Pumtong S, Duangchan P, Anuwong K, Sumpradit N. Lessons learnt from scaling up to sustainability of antibiotics smart use (ASU). J Health Syst Res. 2017;11(4):500-15. (in Thai)

National Drug System Development Announcement: National list of essential medicines B.E. 2562. Government Gazette. Number 136; Special section 95 D (2019 April 17) [Internet]. [cited 2019 Dec 3]. Available form: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/095/T_0008.PDF (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-15

How to Cite

บุตรหงษ์ ป., & ฉลองสุข ร. (2020). การเปรียบเทียบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ภายหลังการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช). ไทยไภษัชยนิพนธ์, 15(1), 109–127. https://doi.org/10.69598/tbps.15.1.109-127