ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครปฐม

Authors

  • ศรีสมบัติ นวนพรัตน์สกุล Department of Pharmacology and Toxicology, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • นลินา เกิดฤทธิ์ Department of Pharmacology and Toxicology, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • ณัฐิกานต์ วีระนาคินทร์ Department of Pharmacology and Toxicology, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • นนทินี มีทรัพย์ทวีกูล Department of Pharmacology and Toxicology, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • พัชนีวรรณ วรสุวัฒน์ Department of Pharmacology and Toxicology, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • วรรษมน ทองศรี Department of Pharmacology and Toxicology, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.8.2.35-42

Keywords:

มะเร็งปากมดลูก, โรงพยาบาลนครปฐม, ปัจจัย, การตรวจมะเร็งปากมดลูก

Abstract

บทคัดย่อ

          มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดสำหรับสตรีไทย รองลงมาคือมะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งปอด ปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อย การมีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปี เป็นต้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่กลุ่มงานสูตินรีเวช โรงพยาบาลนครปฐมในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลที่ได้จากสตรีจำนวน 58 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Chi-square tests  พบว่าปัจจัยในด้านการรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลามากกว่า 5 ปี การมีคู่นอนหลายคนและการมีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปัจจัยในด้านการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากข้อมูลที่ได้มีประโยชน์เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรีมีปัจจัยเสี่ยง

Downloads

How to Cite

นวนพรัตน์สกุล ศ., เกิดฤทธิ์ น., วีระนาคินทร์ ณ., มีทรัพย์ทวีกูล น., วรสุวัฒน์ พ., & ทองศรี ว. (2015). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครปฐม. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 8(2), 35–42. https://doi.org/10.69598/tbps.8.2.35-42

Issue

Section

บทความวิจัย