เภสัชจลนศาสตร์ประชากรของยาฟีโนบาร์บิทาลในผู้ป่วยโรคลมชัก ณ สถาบันประสาทวิทยา
DOI:
https://doi.org/10.69598/tbps.9.1.1-13Keywords:
โรคลมชัก, ฟีโนบาร์บิทาล, เภสัชจลนศาสตร์ประชากรAbstract
บทคัดย่อ
ฟีโนบาร์บิทาลเป็นยากันชักที่มีการใช้บ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนา แต่มีช่วงการรักษาแคบ และมีความผันแปรระหว่างบุคคลสูง ดังนั้นการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของยาในเลือด การหาค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์และการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผันแปรระหว่างบุคคลในกลุ่มประชากรที่เฉพาะเจาะจง จึงเป็นประโยชน์ในการกำหนดขนาดยาเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบจำลองทางเภสัชจลนศาสตร์ประชากรที่ใช้ประมาณค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ และหาปัจจัยที่มีผลต่อค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของฟีโนบาร์บิทาลในผู้ป่วยโรคลมชัก วิเคราะห์ข้อมูลระดับความเข้มข้นของยาฟีโนบาร์บิทาลในเลือด 265 ตัวอย่าง จากผู้ป่วยโรคลมชักจำนวน 164 ราย ที่ได้รับ
ฟีโนบาร์บิทาล และเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา สร้างแบบจำลองโดยใช้ nonlinear mixed-effects modeling ด้วยวิธี first-order conditional estimation method with interaction (FOCEI) ใช้แบบจำลองที่มีลักษณะทางเภสัชจลนศาสตร์แบบหนึ่งห้อง มีการดูดซึมและกำจัดยาแปรผันตรงกับความเข้มข้นของยา เพื่อวิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ ร่วมกับหาปัจจัยที่มีผลต่อค่าพารามิเตอร์จากวิธี stepwise forward addition และ stepwise backward elimination อธิบายความผันแปรระหว่างบุคคล (interindividual variability, IIV) และความผันแปรจากสาเหตุอื่น (residual unexplained variability, RUV) โดยใช้ proportional model และทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองด้วยวิธี bootstrap จากการสุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,000 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองที่เหมาะสมมีอัตราการกำจัดยาเท่ากับ 0.224 ลิตรต่อชั่วโมง ปริมาตรการกระจายยา เท่ากับ 23.0 ลิตร และค่าคงที่อัตราการดูดซึมยาเท่ากับ 1.33 ต่อชั่วโมง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการกำจัดยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ น้ำหนักตัว (body weight, BW) และการใช้
วัลโปรอิกแอซิด (valproic acid, VPA) ร่วมโดย CL/F (ลิตรต่อชั่วโมง) = 0.2240 x (1 + 0.0105 x (BW - 57)) x (1 – (0.2290 x VPA)) ค่าความผันแปรระหว่างบุคคลของอัตราการกำจัดยา เท่ากับร้อยละ 19.52 และค่าความผันแปรจากสาเหตุอื่น เท่ากับร้อยละ 24.15 ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ของค่าพารามิเตอร์จากแบบจำลองมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากการทดสอบด้วยวิธี bootstrap ดังนั้นแบบจำลองที่ใช้อธิบายค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ประชากรของยาฟีโนบาร์บิทาล ควรพิจารณาร่วมกับปัจจัยเหล่านี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขนาดยาฟีโนบาร์บิทาลที่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคลมชักแต่ละรายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มประชากรที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
All articles published and information contained in this journal such as text, graphics, logos and images is copyrighted by and proprietary to the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, and may not be reproduced in whole or in part by persons, organizations, or corporations other than the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences and the authors without prior written permission.