การประเมินผลและปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ด้วยยา STREPTOKINASE ในโรงพยาบาลมะการักษ์

Authors

  • ญาณิศา นาคถั่ว Department of Pharmacy, Makarak Hospital, Kanchanaburi

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2014.3

Keywords:

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, สเตรปโตไคเนส, การเปิดหลอดเลือดหัวใจ

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลและปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย STEMI และได้รับยา streptokinase ในโรงพยาบาลมะการักษ์ ด้านผลการรักษาได้ประเมิน reperfusion rate โดยพิจารณาจาก ECG-ST elevation ที่ลดลงมากกว่าร้อยละ 50 และอาการไม่พึงประสงค์หลังให้ยา ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาได้ทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้ป่วยรวมทั้งระยะเวลาในการหยดยากับผลการ reperfusion และประเมินปัจจัยที่มาจากระบบงานคือ door to needle time, symptom to needle time ทั้งในและนอกเวลาราชการ โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มาโรงพยาบาลระหว่าง มกราคม 2553 - ธันวาคม 2555 รวม 3 ปี จำนวน 40 ราย door to needle time เฉลี่ย 64.37 นาที symptom to needle time เฉลี่ย 3 ชั่วโมง 38 นาที reperfusion สำเร็จร้อยละ 67.5 อาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่คือความดันโลหิตต่ำพบร้อยละ 60 มีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงคือ intracranial hemorrhage 1 ราย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ reperfusion คือโรคเบาหวาน (p = 0.045)  ระยะเวลาในการให้ยาภายใน 1 ชั่วโมงและนานกว่า 1 ชั่วโมง ให้ผลด้าน reperfusion ไม่ต่างกัน (p = 0.750) ผลการรักษาผู้ป่วยที่มาในเวลาราชการกับนอกเวลาราชการไม่แตกต่างกันในด้าน door to needle time,  symptom to needle time และ reperfusion rate โดยสรุปผลการรักษามีอัตราความสำเร็จในการ reperfusion ในระดับเดียวกับที่พบในงานวิจัยอื่นๆ ซึ่งพบตั้งแต่ร้อยละ 60 - 72 ปัจจัยที่ควรระวังในผู้ป่วยคือโรคเบาหวาน  door to needle time เป็นสิ่งที่ยังต้องพัฒนาเนื่องจากยังไม่บรรลุเป้าที่ตั้งไว้

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย