ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุน–ประสิทธิผลของสเตตินในการป้องกันปฐมภูมิต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจ

Authors

  • หทัยรัตน์ รัตนคุณูประการ Pharmacy Section, Chandrubeksa Hospital, Nakhon Pathom
  • กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม Department of Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.9.1.38-56

Keywords:

สเตติน, ต้นทุนประสิทธิผล, การป้องกันปฐมภูมิ, โรคหลอดเลือดหัวใจ

Abstract

บทคัดย่อ

ยากลุ่มสเตตินช่วยลดอัตราการตายและการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งในผู้ที่มีและไม่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ  ดังนั้นจึงนำยากลุ่มนี้มาใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ  โดยพบหลักฐานความคุ้มค่าในการป้องกันแบบทุติยภูมิ   แต่ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในการป้องกันแบบปฐมภูมิต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ การพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการประเมินต้นทุนประสิทธิผลรวมถึงวิธีการประเมินประสิทธิผลด้วยเพื่อทำให้การสรุปผลชัดเจนขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น  แนวทางการเริ่มใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดในการป้องกันปฐมภูมิต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจของแต่ละประเทศมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน  แต่สิ่งที่เหมือนกันคือแนะนำให้เลือกใช้กลุ่มสเตตินเป็นอันดับแรก แต่ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด ดังนั้นการเลือกใช้ยาควรพิจารณาจากความปลอดภัยของยาสเตตินแต่ละชนิด  และความทนต่อยาของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้การใช้ยาป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นโรคเรื้อรังต้องได้รับยาเป็นเวลานาน  ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ร่วมด้วย โดยปัจจัยที่ควรพิจารณาได้แก่ ระดับความเสี่ยง  โดยใช้ Framiningham risk score ของผู้ป่วยแต่ละรายโดยเฉพาะด้านอายุ    ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยจากยาที่เลือกใช้ในขนาดที่เหมาะสม   ความร่วมมือในการรักษาและค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยทั้งค่าใช้จ่ายจากการรักษาโรคและค่าใช้จ่ายจากการรักษาอาการไม่พึงประสงค์จากยาเมื่อใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน  การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ควรเป็นการวิจัยแบบไปข้างหน้า โดยเปรียบเทียบกับสเตตินชนิดอื่น เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก  ระยะเวลาการศึกษาควรนานกว่า 10 ปี เพื่อจะได้สามารถประเมินความคุ้มค่าได้ชัดเจนขึ้น จากข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมา rosuvastatin  เป็นยาที่มีความน่าสนใจที่จะนำมาประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากยาดังกล่าวมีการใช้มากขึ้นและมีราคาสูง เมื่อพิจารณาด้านต้นทุน-ประสิทธิผล โดยปัจจัยที่ควรพิจารณาร่วม ได้แก่ ระดับความเสี่ยงเมื่อประเมินจาก Framingham risk score  ช่วงอายุที่เหมาะสม  ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาโดยไม่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา  รูปแบบการศึกษา  ระยะเวลาการศึกษา  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางคลินิก และการใช้แบบจำลองมาร์คอฟในการอธิบายการดำเนินไปของโรค สรุป ในการใช้ยากลุ่มสเตตินป้องกันแบบปฐมภูมิต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจพบต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มที่ขึ้นกับอายุและระดับความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย

 

Downloads

How to Cite

รัตนคุณูประการ ห., & ทิวถนอม ก. (2015). ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุน–ประสิทธิผลของสเตตินในการป้องกันปฐมภูมิต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจ. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 9(1), 38–56. https://doi.org/10.69598/tbps.9.1.38-56

Issue

Section

บทความวิชาการ