ผลการให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชกรชุมชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • คทา บัณฑิตานุกูล กรรมการสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) กรุงเทพมหานคร
  • วิไล บัณฑิตานุกูล ร้านยาเรือนยา กรุงเทพมหานคร
  • ระพีพรรณ ฉลองสุข Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2014.8

Keywords:

บุหรี่, เภสัชกร, การเลิกบุหรี่

Abstract

บทคัดย่อ

สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ต้องการผลักดันให้เภสัชกรชุมชนได้มีบทบาทในการให้บริการเลิกบุหรี่ จึงได้เชิญชวนให้เภสัชกรชุมชนของร้านยาคุณภาพในกรุงเทพมหานครให้บริการเลิกบุหรี่แก่ผู้ที่มารับบริการที่ร้านยา โครงการให้บริการเลิกบุหรี่นี้ดำเนินการในช่วง
1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556 โดยใช้เทคนิค 5A (“Ask-Advise-Assess-Assist-Arrange”) นำข้อมูลจากแบบบันทึกการให้บริการเลิกบุหรี่ของร้านยาที่เข้าร่วมโครงการมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณา พบว่าการดำเนินโครงการในระยะเวลา 1 ปี มีร้านยาคุณภาพเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 23 ร้าน และให้บริการแนะนำการเลิกบุหรี่แก่ผู้มารับบริการ 203 คน ซึ่งส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.2) เป็นผู้ชาย อายุเฉลี่ย 41.92±12.95 ปี โรคประจำตัวของผู้เข้ารับบริการส่วนใหญ่ คือ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 32.1) และ โรคเบาหวาน (ร้อยละ 15.1) ประสบการณ์สูบบุหรี่เฉลี่ย16 ±12.53  ปี และจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวันเฉลี่ย 15.47±9.89 มวน ผู้มารับบริการที่สนใจรับคำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่ (A4) 119 คน มีร้อยละ 52.9 เลือกใช้การหยุดสูบบุหรี่ทันที โดยร้อยละ 90.8 ได้รับทั้งคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมเพื่อเลิกสูบบุหรี่และได้รับยาร่วมด้วย ได้แก่ Nicomild® (Nicotin) 2 mg (ร้อยละ 71.3), Nortriptyline 25 mg (ร้อยละ 29.6) และสมุนไพรหญ้าดอกขาว (ร้อยละ 27.8) อาการข้างเคียงของยาที่พบ เช่น ปากแห้ง มึน และเหงื่อออกมาก อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นการเพิ่มบทบาทในการให้บริการเลิกบุหรี่ของเภสัชกรชุมชนในร้านยาจึงเป็นการเพิ่มช่องทางเข้าถึงบริการของผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย