ผลของกระบวนการทำการประสานรายการยาในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ณ โรงพยาบาลมะการักษ์
DOI:
https://doi.org/10.69598/tbps.9.2.32-45Keywords:
ความคลาดเคลื่อนทางยา, การประสานรายการยา, ยาโรคเรื้อรังAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการทำการประสานรายการยา ในการป้องกันและแก้ไขความคลาดเคลื่อนทางยาจากการสั่งใช้ยาโรคเรื้อรัง ณ จุดรับผู้ป่วยไว้รักษาในหอผู้ป่วย และจุดจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน ของโรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า โดยทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - วันที่ 31 มีนาคม 2555 โดยทำการเปรียบเทียบรายการยาเดิมที่ผู้ป่วยได้รับก่อนเข้ารับการรักษากับขณะนอนอยู่โรงพยาบาล และเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อทบทวนการสั่งใช้ยา หาความแตกต่างของรายการยา ทั้งนี้ความแตกต่างที่เกิดขึ้นแบบไม่ตั้งใจ จัดเป็นความคลาดเคลื่อนทางยาอย่างหนึ่ง
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวน 561 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ของการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 183 ราย เข้ารับการรักษา 200 ครั้ง อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย 63.47±15.79 ปี ระยะเวลาในการรอคอยการทำการประสานรายการยาเฉลี่ย 8.45±7.26 ชั่วโมง โดยใช้เวลาในการทำการประสานรายการยา ประมาณ 15.02±10.55 นาทีต่อราย จากการทำการประสานรายการยา พบว่าผู้ป่วยมีรายการยาเดิมที่ใช้ก่อนเข้ารับการรักษาเฉลี่ย 4.45±2.43 รายการ โดยเป็นยา กลุ่มหัวใจและหลอดเลือดเป็นสัดส่วนสูงสุด คือร้อยละ 60 และรายการยาเมื่อจำหน่ายกลับบ้านเฉลี่ย 5.07±2.86 รายการ พบความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาร้อยละ 3.82 และ 1.87 ขณะรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และจำหน่ายกลับบ้าน ตามลำดับ ขณะรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษานั้นประเภทความคลาดเคลื่อนที่พบมากสุดคือ ผู้ป่วยได้รับยาไม่ครบรายการ จำนวน 31ครั้ง รองลงมาคือการรับยาผิดขนาด 3 ครั้ง และขณะจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านนั้น ความคลาดเคลื่อนที่พบมากสุดคือ ผู้ป่วยได้รับยาไม่ครบรายการ จำนวน 17 ครั้ง รองลงมาคือการรับยาผิดขนาด
1 ครั้ง ขณะรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษา พบปัญหาความคลาดเคลื่อนมากสุดในกลุ่มยาลดความดันโลหิตและยาขยายหลอดลม แตกต่างจากเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านที่ความคลาดเคลื่อนพบในกลุ่มยาภาวะไตบกพร่องมากสุด และจากระบบการประสานรายการยา ณ จุดจำหน่ายกลับบ้านนั้นสามารถลดมูลค่าการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 22,300 บาท
กระบวนการประสานรายการยา เป็นกระบวนการที่สามารถป้องกันและแก้ไขความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้ นอกจากนี้การสอบทวนความถูกต้อง สภาพยา ซองยาเก่าของผู้ป่วยสามารถลดมูลค่าการเบิกจ่ายยากลับบ้านของผู้ป่วยได้
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
All articles published and information contained in this journal such as text, graphics, logos and images is copyrighted by and proprietary to the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, and may not be reproduced in whole or in part by persons, organizations, or corporations other than the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences and the authors without prior written permission.