ยายับยั้งระบบประสาทซิมพาเทติกในระบบประสาทส่วนกลาง : ผลลดความดันเลือดและอื่นๆ

Authors

  • สุรศักดิ์ วิชัยโย ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.9.2.74-92

Keywords:

ยายับยั้งระบบประสาทซิมพาเทติกในระบบประสาทส่วนกลาง, 2-adrenergic receptor, I1-imidazoline receptor, rilmenidine, clonidine, -methyldopa

Abstract

บทคัดย่อ

          ยายับยั้งระบบประสาทซิมพาเทติกในระบบประสาทส่วนกลางแต่ละชนิดมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาแตกต่างกัน ยา rilmenidine ซึ่งมีความจำเพาะต่อ I1-imidazoline receptor (I1-R) นอกจากลดความดันเลือด ยังแสดงผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด โดยลดการหนาตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด total cholesterol และ triglyceride รวมทั้งปกป้องไต เป็นต้น ซึ่งผลดังกล่าวอาจเกิดจากทั้งฤทธิ์การยับยั้งระบบประสาทซิมพาเทติกในระบบประสาทส่วนกลางและการกระตุ้น I1-R ที่อวัยวะส่วนปลายโดยตรง ขณะที่ยา a-methyldopa ซึ่งจำเพาะต่อ a2-adrenergic receptor (a2-AR) แสดงเฉพาะผลลดความดันเลือด อย่างไรก็ตาม a-methyldopa จัดเป็นยาที่ปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์มากกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน ส่วนยา clonidine ซึ่งจับได้ดีทั้ง I1-R และ a2-AR ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคอื่นๆ โดยเฉพาะโรคทางระบบประสาทและจิตเวช เช่น ในผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น (attention deficit/ hyperactivity  disorder) ซึ่งยาออกฤทธิ์กระตุ้น a2A-adrenergic receptor (a2A-AR) ที่สมองส่วน prefrontal cortex (PFC) ทำให้การควบคุมสมาธิ อารมณ์และพฤติกรรมดีขึ้น เป็นต้น สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยจากยาทั้งกลุ่ม ได้แก่ ง่วงซึมและปากแห้ง ซึ่งพบอุบัติการณ์สูงกว่าจากยาที่ชอบจับกับ a2-AR นอกจากนี้เมื่อต้องการหยุดยา clonidine ควรค่อย ๆ ลดขนาดยาเพื่อป้องกัน rebound hypertension และควรระมัดระวังอาการแพ้ยาจาก a-methyldopa อีกทั้งธาตุเหล็กสามารถลดการดูดซึมยา a-methyldopa จากทางเดินอาหารอย่างมีนัยสำคัญ

Downloads

How to Cite

วิชัยโย ส. (2015). ยายับยั้งระบบประสาทซิมพาเทติกในระบบประสาทส่วนกลาง : ผลลดความดันเลือดและอื่นๆ. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 9(2), 74–92. https://doi.org/10.69598/tbps.9.2.74-92

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ