ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากยาเฮปาริน

Authors

  • พรวลัย บุญเมือง Department of Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • วิชัย สันติมาลีวรกุล Department of Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • ปิยรัตน์ พิมพ์สี Department of Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2014.14

Keywords:

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากยาเฮปาริน, เฮปาริน, ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

Abstract

บทคัดย่อ

Heparin เป็นยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือดที่นำมาใช้อย่างแพร่หลาย อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญคือ การเกิดเลือดออก ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจาก heparin หรือ heparin - induced thrombocytopenia (HIT) ซึ่งพบได้บ่อยและอาจทำให้เสียชีวิตได้ HIT แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะทางคลินิกคือ HIT type I และ HIT type II  บทความนี้จะกล่าวเน้นเฉพาะ HIT type II ที่เป็นผลจากการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและอาจทำให้มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้ เป้าหมายสำคัญของการรักษา HIT คือลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ดังนั้นกรณีที่สงสัยว่าเกิด HIT โดยมีระดับความน่าจะเป็นตั้งแต่ระดับปานกลางถึงสูง ควรหยุดบริหาร heparin ทุกชนิดและพิจารณาให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ไม่ใช่ heparin แทน heparin จากข้อมูลของคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) และแนวทางการรักษา HIT ของAmerican College of Chest Physicians Evidence-Based Clinical Practice Guidelines
ปี 2012 แนะนำให้ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดในกลุ่ม direct thrombin inhibitor (DTIs) หรือกลุ่ม indirect factor-Xa inhibitors แทน heparin โดยยากลุ่ม indirect factor-Xa inhibitor ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ fondaparinux

Downloads

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ