พอลิเมอริกไมเซลล์เพื่อการนำส่งยา : การบรรจุยาด้วยวิธีทางกายภาพ และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
DOI:
https://doi.org/10.69598/tbps.9.2.62-73Keywords:
พอลิเมอริกไมเซลล์, การกักเก็บยาด้วยวิธีทางกายภาพAbstract
บทคัดย่อ
พอลิเมอริกไมเซลล์ คือ ระบบนำส่งยารูปแบบหนึ่งซึ่งได้รับความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำส่งยาที่ละลายน้ำน้อย โดยทั่วไปเมื่อพอลิเมอริกไมเซลล์กระจายตัวอยู่ในสารละลายมีขั้วจะมีขนาดของอนุภาคน้อยกว่า 100 นาโนเมตร พอลิเมอร์ที่ใช้เตรียมพอลิเมอริกไมเซลล์ต้องมีโครงสร้างเป็นแอมฟิฟิลิกพอลิเมอร์ สามารถก่อตัวเป็นไมเซลล์ได้ด้วยตนเอง เช่นเดียวกับไมเซลล์ที่เกิดจากสารลดแรงตึงผิว พอลิเมอริกไมเซลล์คล้ายกับไมเซลล์ที่เกิดจากสารลดแรงตึงผิวจึงสามารถเพิ่มการละลายของตัวยาที่ละลายน้ำได้น้อย ทำให้สามารถลดความเป็นพิษของยาและเพิ่มชีวประสิทธิผลในการรักษาโรคได้ โดยสามารถกักเก็บสารหรือตัวยาที่ละลายน้ำได้น้อยไว้ในส่วนแกนกลางภายในอนุภาค เทคนิคการบรรจุยาภายในพอลิเมอริกไมเซลล์มีหลากหลายวิธี ในที่นี้จะกล่าวถึงเทคนิคการบรรจุยาทางกายภาพซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดและมีวิธีเตรียมที่ง่าย โดยสามารถแบ่งได้ 3 วิธีดังนี้ วิธีแยกสารผ่านเยื่อ วิธีอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ และวิธีการระเหยแห้ง ซึ่งแต่ละวิธีต้องเลือกสารละลายอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถละลายและเข้ากับทั้งยาและพอลิเมอร์ที่ใช้เพื่อเตรียมเป็นไมเซลล์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการบรรจุยาทางกายภาพที่แตกต่างกันนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบรรจุยา พบว่า วิธีการระเหยแห้งและวิธีอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำมีประสิทธิภาพในการบรรจุยาดีกว่าวิธีแยกสารผ่านเยื่อ แต่วิธีแยกสารผ่านเยื่อสามารถกำจัดสารละลายอินทรีย์ที่ใช้เตรียมได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบรรจุยา ได้แก่ สารละลายอินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการบรรจุยา สัดส่วนของยาต่อบล็อกโคพอลิเมอร์ ผลของพอลิเมอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลแตกต่างกัน หรือความยาวของสายพอลิเมอร์ต่างกัน การใช้สัดส่วนของตัวทำละลายอินทรีย์ต่อน้ำที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเตรียมพอลิเมอริกไมเซลล์สำหรับนำส่งยาต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพที่ดีนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงวิธีการบรรจุยาและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเตรียมด้วย
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
All articles published and information contained in this journal such as text, graphics, logos and images is copyrighted by and proprietary to the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, and may not be reproduced in whole or in part by persons, organizations, or corporations other than the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences and the authors without prior written permission.