การตรวจสอบสารปรอทแอมโมเนียและไฮโดรควิโนน ในครีมทาหน้าขาวที่วางจำหน่าย ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
DOI:
https://doi.org/10.69598/tbps.8.1.1-8Keywords:
ครีมทาหน้าขาว, ปรอทแอมโมเนีย, ไฮโดรควิโนน, นครปฐมAbstract
บทคัดย่อ
ทัศนคติของการมีผิวขาวเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นและทุกวัย ส่งผลให้มีการใช้เครื่องสำอางประเภทครีมทาหน้าขาวมากขึ้น ทำให้มีการลักลอบผสมสารห้ามใช้ต่าง ๆ ในเครื่องสำอางในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะสารประกอบปรอทแอมโมเนียและไฮโดรควิโนน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ขัดขวางการสร้างเม็ดสีผิว สามารถทำให้ฝ้าจางลงหรือผิวขาวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้สารดังกล่าวจะถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางเนื่องจากความเป็นพิษต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ก็ยังมีรายงานการตรวจพบอยู่เป็นประจำและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การศึกษานี้เป็นการตรวจหาสารห้ามใช้ปรอทแอมโมเนียและไฮโดรควิโนนในผลิตภัณฑ์ครีมทาหน้าขาว ที่มีวางจำหน่ายในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม จำนวน 29 ตัวอย่าง จาก 26 เครื่องหมายการค้า โดยการตรวจสอบเบื้องต้นจะใช้ชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและทำการตรวจยืนยันผลด้วยวิธี Reinsch’s Test สำหรับปรอทแอมโมเนีย และ thin layer chromatography (TLC) สำหรับไฮโดรควิโนน ผลการศึกษาพบว่ามีการเจือปนปรอทแอมโมเนีย 17 ตัวอย่าง (ร้อยละ 58.6) และการเจือปนไฮโดรควิโนน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 10.3) จากการศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ข้อบ่งใช้ในการรักษา ราคาต่อกรัม การระบุข้อมูลแหล่งผลิต และแหล่งที่วางจำหน่ายต่อจำนวนตัวอย่างของการตรวจพบสารทั้งสอง พบว่าผลของปัจจัยต่อจำนวนตัวอย่างสูงสุดที่มีการตรวจพบการเจือปนปรอทแอมโมเนียและไฮโดรควิโนนจะเป็นไปในทางเดียวกัน ได้แก่ ปัจจัยราคา การระบุแหล่งผลิตและแหล่งวางจำหน่าย โดยจำนวนตัวอย่างมากสุดที่มีการตรวจพบสาร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาต่อกรัมต่ำกว่า 20 บาท การไม่ระบุข้อมูลแหล่งผลิต และมีแหล่งขายคือ ตลาดสด สำหรับปัจจัยข้อบ่งใช้ในการรักษาได้ผลที่ไม่เหมือนกัน โดยพบว่าสารปรอทแอมโมเนียพบมากในผลิตภัณฑ์รักษาสิว ในขณะที่สารไฮโดรควิโนนพบมากในผลิตภัณฑ์หน้าขาว ดังนั้นการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ครีมหน้าขาวจึงควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
All articles published and information contained in this journal such as text, graphics, logos and images is copyrighted by and proprietary to the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, and may not be reproduced in whole or in part by persons, organizations, or corporations other than the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences and the authors without prior written permission.