ไทโอเมอร์ : พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกรุ่นใหม่สำหรับระบบนำส่งยาผ่านเยื่อเมือก

Authors

  • ประสพชัย ทองไหลรวม Pharmaceutical Development of Green Innovations Group (pdgig), Department of Pharmaceutical Technology, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • ปราณีต โอปณะโสภิต Pharmaceutical Development of Green Innovations Group (pdgig), Department of Pharmaceutical Technology, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2013.5

Keywords:

ไทโอเมอร์, พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือก, เยื่อเมือก, การนำส่งยา

Abstract

บทคัดย่อ

            ปัจจุบันการพัฒนาระบบนำส่งยากำลังได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง แนวความคิดเกี่ยวกับการยึดติดเยื่อเมือกได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา และเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบยาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกรุ่นแรกยึดติดกับเยื่อเมือกอย่างไม่จำเพาะเจาะจงและยึดติดได้ไม่ยาวนาน เนื่องจากโดยทั่วไปพันธะเคมีระหว่างพอลิเมอร์กับเยื่อเมือกหรือพื้นผิวเนื้อเยื่อมักไม่ใช่พันธะโควาเลนท์ อย่างไรก็ตามพอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกรุ่นใหม่ มีความสามารถในการสร้างพันธะโควาเลนท์ หรือพันธะไดซัลไฟด์กับเยื่อเมือก ไทโอเมอร์เป็นพอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกประเภทหนึ่งซึ่งมีการเติมหมู่ไทออล (SH) เข้าไปในสายพอลิเมอร์ ซึ่งหมู่ไทออลนี้สามารถเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับกรดอะมิโนซิสเทอีน (cysteine) ที่เป็นองค์ประกอบในเยื่อเมือกเกิดเป็นพันธะไดซัลไฟด์ จึงมีผลทำให้ไทโอเมอร์มีคุณสมบัติในการยึดติดเยื่อเมือกที่ดีกว่าพอลิเมอร์ทั่วไป นอกจากนั้นคุณสมบัติในการดึงน้ำเข้าสู่พอลิเมอร์และการยับยั้งเอนไซม์บางชนิดซึ่งช่วยลดการทำลายยาหรือโปรตีนที่นำส่งและผลต่อการเปิดของ tight junction จึงทำให้ไทโอเมอร์มีผลอย่างมากในการเพิ่มการซึมผ่านของยาต่างๆ ผ่านเยื่อเมือก ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วนี้ ไทโอเมอร์จึงเป็นพอลิเมอร์ทางเลือกที่มีศักยภาพในการนำส่งยาผ่านเยื่อเมือกที่บริเวณต่าง ๆ ได้แก่ กระพุ้งแก้ม เยื่อบุตา ช่องคลอด เยื่อบุช่องจมูก และทางเดินอาหาร เป็นต้น 

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ