การฉายรังสีแกมมา : กระบวนการทำไร้เชื้อสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร
DOI:
https://doi.org/10.69598/tbps.8.1.41-54Keywords:
รังสีแกมมา, การฉายรังสี, การทำไร้เชื้อ, สมุนไพรAbstract
บทคัดย่อ
ปัจจุบันยาสมุนไพรได้รับความนิยมในการนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยมากขึ้น สมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากธรรมชาติ จึงพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ตามธรรมชาติได้ การนำวัตถุดิบสมุนไพรมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงจำเป็นที่จะต้องนำมาผ่านกระบวนการทำไร้เชื้อเพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าว
การฉายรังสีแกมมาเป็นกระบวนการทำไร้เชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง และมีจุดเด่นที่เหนือกว่าการทำไร้เชื้อวิธีอื่น ดังนี้ รังสีแกมมามีความสามารถในการแพร่ผ่านได้สูง เกิดปฏิกิริยาทางเคมีต่ำ ไม่ก่อให้เกิดการตกค้าง เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในระหว่างการฉายรังสีเล็กน้อย เป็นกระบวนการที่เสร็จสิ้นในขั้นตอนเดียว และมีความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบราคากับประสิทธิภาพ
การฉายรังสีแกมมาในขนาดที่เหมาะสม จะทำลายเชื้อที่ในผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามรังสีแกมมาอาจส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณสารสำคัญในสมุนไพรได้บ้าง การฉายรังสีแกมมาจึงอาจไม่เหมาะสมสำหรับสมุนไพรบางชนิด ซึ่งการฉายรังสีจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2553 เรื่อง อาหารฉายรังสี ซึ่งกำหนดไว้ 8 หัวข้อ ได้แก่ 1. สถานที่ตั้ง อาคารฉายรังสี และการออกแบบ 2. แหล่งกำเนิดรังสี และเครื่องจักรร่วมระบบในการฉายรังสี 3. กระบวนการฉายรังสีและการควบคุม 4. การวัดปริมาณรังสีดูดกลืนที่อาหารได้รับหลังจากผ่านการฉายรังสีแล้วและการควบคุม 5. บันทึกและรายงานผล 6. การสุขาภิบาล 7. การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา 8. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
All articles published and information contained in this journal such as text, graphics, logos and images is copyrighted by and proprietary to the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, and may not be reproduced in whole or in part by persons, organizations, or corporations other than the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences and the authors without prior written permission.