การสื่อสารเพื่อการดูแลการใช้ยาของผู้สูงอายุอย่างมี ประสิทธิภาพ

Authors

  • ระพีพรรณ ฉลองสุข ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม
  • ณัฎฐิญา ค้าผล ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2011.5

Keywords:

การสื่อสาร, การใช้ยา, ผู้สูงอายุ

Abstract

บทคัดย่อ

การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญของเภสัชกรในการปฏิบัติงานด้านบริบาลเภสัชกรรม โดยปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการสื่อสารประกอบด้วย ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง และ ผู้รับสาร รวมทั้งสภาพแวดล้อมในระหว่างการสื่อสาร หากเภสัชกรมีทักษะในการสื่อสารที่ดีย่อมส่งผลให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม และเกิดความร่วมมือในการใช้ยา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งมีอุบัติการณ์และความถี่ในการเกิดโรคสูง และการเสื่อมสมรรถนะทางร่างกายของผู้สูงอายุ ทำให้ต้องมีความระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น ดังนั้นเภสัชกรควรทราบถึงวิธีการสื่อสารด้านยากับผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทักษะที่พึงปฏิบัติ คือ เพิ่มระยะเวลาในการสื่อสาร จัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจากสิ่งรบกวน มีการสบตาในระหว่างสนทนา พูดช้าๆ ใช้ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ หรือใช้อุปกรณ์ช่วย โดยเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารได้แก่ การใช้ขนาดตัวอักษร การใช้สีของฉลากยา และการใช้สัญลักษณ์รูปภาพ เป็นต้น

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ