การหักแบ่งเม็ดยา

Authors

  • จันคนา บูรณะโอสถ ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม
  • สรายุทธ์ จันทร์มหเสถียร ภาควิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.4.1.49-62

Keywords:

การหักแบ่งยาเม็ด, การใช้ยา, ปัญหาการใช้ยา, ลักษณะของยาเม็ด, ลักษณะของผู้ป่วย

Abstract

การหักแบ่งยาเม็ดออกเป็นสองส่วนหรือมากกว่าสองส่วน เป็นแนวปฏิบัติที่วงการแพทย์และเภสัชกรรมยอมรับกันมานาน อย่างไรก็ตาม การหักแบ่งยาเม็ดอาจก่อให้เกิดปัญหาในลักษณะต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาในปริมาณที่ต่ำหรือสูงเกินไป เพราะผู้ป่วยไม่สามารถหักแบ่งยาเม็ดออกเป็นสองส่วนที่เท่ากันได้ หรือทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ยาเท่าที่ควร เพราะการหักแบ่งยาเม็ดอาจมีผลต่อการแตกตัวของยา อัตราการละลายของตัวยาสำคัญออกจากยาเม็ด และความคงสภาพของยา นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือสายตา ยังเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในการหักแบ่งยาเม็ดมากกว่าผู้ป่วยปกติทั่วไป ดังนั้น แพทย์และเภสัชกรควรตระหนักถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการหักแบ่งยาเม็ด และควรตรวจสอบว่ายาเม็ดแต่ละชนิดสามารถหักแบ่งได้หรือไม่ รวมทั้งพิจารณาว่าผู้ป่วยมีปัญหาในการหักแบ่งยาเม็ดหรือไม่ ก่อนที่จะสั่งให้ผู้ป่วยหักแบ่งยาเม็ด

Downloads

How to Cite

บูรณะโอสถ จ., & จันทร์มหเสถียร ส. (2015). การหักแบ่งเม็ดยา. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 4(1), 49–62. https://doi.org/10.69598/tbps.4.1.49-62

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ