สถานการณ์การติดเชื้อ และกลไกการดื้อยา โดยเชื้อ Acinetobacter baumannii

Authors

  • วิชัย สันติมาลีวรกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม
  • สุทธิพร ภัทรชยากุล ภาควิชาเภสัชกรรมคลีนิก คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ จ.สงขลา
  • โพยม วงศ์ภูวรักษ์ ภาควิชาเภสัชกรรมคลีนิก คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ จ.สงขลา

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2009.10

Keywords:

Acinetobacter baumannii, กลไกการดื้อยา, การติดเชื้อ

Abstract

ในปัจจุบันอัตราการติดเชื้อ Acinetobater baumannii (A. baumannii) เพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เชื้อดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาล ทั้งการติดเชื้อที่ปอด การติดเชื้อในเลือด การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อ เป็นต้น ยาต้านจุลชีพที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อ A. baumannii มีจำกัด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการรักษาการติดเชื้อนี้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อชนิดนี้ดื้อต่อยาต้านจุลชีพด้วยกลไกหลายกลไก ได้แก่ 1) การสร้างเอนไซม์ทำลายยา 2) การลดการนำยาเข้าเซลล์โดยลดการสร้าง porin 3) การขับยาออกจากเซลล์ (efflux pump) และ 4) การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายในการจับของยา โดยกลไกการดื้อยาที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ การสร้างเอนไซม์ทำลายยา เช่น Amp-C β-lactamase, OXA-type carbapenemase และ metalo-β-lactamase ซึ่งพบว่าเอนไซม์ 2 ชนิดหลังสามารถทำลายยา β-lactam ได้ทั้งกลุ่มรวมถึงยากลุ่ม carbapenems กลไกการดื้อยาในเชื้อตัวหนึ่งๆ อาจเกิดจากกลไกใดกลไกหนึ่ง หรือ อาจเกิดขึ้นพร้อมกันในหลายกลไกก็เป็นได้ ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในการเลือกยาต้านจุลชีพสำหรับรักษาการติดเชื้อดื้อยาชนิดนี้ ดังนั้นเภสัชกรควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดื้อยาของ A. baumannii เป็นอย่างดีเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกยาต้านจุลชีพในการรักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อชนิดนี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ