บทบาทของสารยับยั้งโคเลสเตอรีลเอสเทอร์ทรานสเฟอร์โปรตีน ต่อระดับ HDL

Authors

  • ต่อศักดิ์ อินทรไพโรจน์ ภาควิชาชีวเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม
  • ปัทมวรรณ เผือกผ่อง ภาควิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.3.1.13-25

Keywords:

CETP inhibitor, torcetrapib, JTT-705, HDL, atherosclerosis

Abstract

cholesteryl ester transfer protein (CETP) ทำ หน้าที่ขนส่งโคเลสเตอรอลที่อยู่ในรูปของโคเลสเตอรีลเอสเทอร์ (cholesteryl ester) จาก high density lipoprotein (HDL) ไปสู่ไลโปโปรตีนที่มี apolipoprotein B (apoB) เป็นองค์ประกอบ เช่น very low-density lipoprotein (VLDL), intermediate-density lipoprotein (IDL) และ low-density lipoprotein (LDL) โดยแลกเปลี่ยนกับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับ HDL มีความสำ คัญต่อการลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงได้มีความพยายามค้นหาตัวยาที่สามารถเพิ่มระดับ HDL เพื่อใช้ในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าว จากการค้นพบว่าผู้ที่มีภาวะพร่อง CETP จะมีระดับของ HDL สูงขึ้น และมีระดับ LDL ตํ่าลง จึงนำ ไปสู่การค้นคว้าวิจัยค้นหา CTPE inhibitor มาตลอดระยะเวลานานกว่า 15 ปี และได้สารต่างๆ ออกมาจำ นวนหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการทำ งานของ CETP และในขณะนี้สารที่เข้าสู่การศึกษาในระยะ clinical trial คือ JTT-705 และ torcetrapib และมีรายงานล่าสุดแสดงถึงประสิทธิภาพของ torcetrapib ในการลด LDL ได้มากถึง42% และเพิ่มระดับของ HDL ได้มากกว่า 2 เท่า ยาในกลุ่ม CETP inhibitor จึงมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในการนำ ไปใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีระดับของ HDL ตํ่ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน

Downloads

How to Cite

อินทรไพโรจน์ ต., & เผือกผ่อง ป. (2015). บทบาทของสารยับยั้งโคเลสเตอรีลเอสเทอร์ทรานสเฟอร์โปรตีน ต่อระดับ HDL. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 3(1), 13–25. https://doi.org/10.69598/tbps.3.1.13-25

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ