บทบาทของ Interleukin-1 ในโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ และสารออกฤทธิ์ต้านตัวรับ Interleukin-1 สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์

Authors

  • สรวง รุ่งประกายพรรณ ภาควิชาชีวเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2006.13

Keywords:

รูมาทอยด์ (rheumatoid), Interleukin-1, สารออกฤทธิ์ต้านตัวรับ IL-1 (IL-1Ra), Anakinra (Kineret)

Abstract

พยาธิกำเนิดของการอักเสบเรื้อรังและลุกลามในโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ เกี่ยวข้องกับเซลล์และสารตัวกลางหลายชนิดในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย Interleukin-1 (IL-1) เป็นซัยโตคัยน์ชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำ คัญต่อการเกิดพยาธิสภาพในโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ โดยมีฤทธิ์ดึงดูดเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่บริเวณข้อ เร่งการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อบุข้อ และเร่งการสร้างเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ย่อยสลายเนื้อเยื่อออกมา ทำ ให้เกิดการทำ ลายเนื้อเยื่อ กระดูกอ่อน และกระดูกบริเวณข้ออักเสบ ปกติร่างกายจะพยายามรักษาสมดุลของ IL-1 โดยการสร้างสารออกฤทธิ์ต้านตัวรับ IL-1 (Interleukin-1 receptor antagonist; IL-1Ra) ออกมาเพื่อแข่งขันกับ IL-1 ในการเข้าจับกับตัวรับ แต่ในผู้ป่วยรูมาทอยด์พบว่ามีการสร้าง IL-1 ออกมาในปริมาณมากแต่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต้านตัวรับ IL-1 ไม่เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของ IL-1 จึงทำ ให้การดำ เนินโรครุนแรงขึ้นการให้สารออกฤทธิ์ต้านตัวรับ IL-1 จากภายนอกร่วมกับยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์กลุ่มอื่นๆ เช่น DMARDs แกผู่ป้ ่วย จึงเป็นแนวทางการรักษาที่จะช่วยลดความรุนแรงและชะลอการลุกลามของโรคให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และเป็นทางเลือกกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยากลุ่มอื่นๆ

Downloads

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ