ตัวรับนิโคทินิคอะเซทิลโคลีนที่เซลล์ประสาท: เป้าหมายใหม่ใน การค้นหายา

Authors

  • สาธิต นิรัติศัย ภาควิชาเภสัชเคมีื คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.3.1.183-199

Keywords:

neuronal nicotinic acetylcholine receptors (neuronal nAChR), subtypes, ion channel, ligand discovery, pharmacotherapeutic

Abstract

แนวคิดเกี่ยวกับการนำตัวรับนิโคทินิคอะเซทิลโคลีน (nicotinic acetylcholine receptors, nAChR) มาใช้เป็นเป้าหมายในการออกแบบยาได้รับความสนใจขึ้นอีกครั้ง เมื่อการศึกษาทางด้านชีววิทยาโมเลกุล (molecular biology) มีความเจริญรุดหน้า ทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบของตัวรับประเภทนี้ในระดับโมเลกุล การออกแบบยาใหม่สำหรับตัวรับประเภทนี้จึงมีความสำคัญทั้งในการศึกษาการแยกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่แตกต่างกันที่เกิดขึ้นจากตัวรับแบบชนิดย่อย (subtypes) แต่ละชนิด การศึกษาสมุฏฐานของโรค และการค้นหายาใหม่เพื่อใช้ในการรักษาพยาธิสภาพที่เกี่ยวข้องกับตัวรับแบบชนิดย่อยนั้น ในบทความนี้ กล่าวถึงโครงสร้าง ลักษณะ องค์ประกอบ และบทบาททางเภสัชวิทยาของตัวรับแบบชนิดย่อย รวมทั้งการคิดค้นพัฒนาหาไลแกนด์ใหม่เพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ โรคความจำเสื่อม (dementia) โรคจิตเภท (schizophrenia)ความวิตกกังวล (anxiety) ภาวะซึมเศร้า (depression) ความเสื่อมของระบบประสาท(neurodegeneration) อาการติดยา (addiction) อาการปวด (pain) และการอักเสบ(inflammation) เป็นต้น

Downloads

How to Cite

นิรัติศัย ส. (2015). ตัวรับนิโคทินิคอะเซทิลโคลีนที่เซลล์ประสาท: เป้าหมายใหม่ใน การค้นหายา. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 3(1), 183–199. https://doi.org/10.69598/tbps.3.1.183-199

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ