การบริโภคกาแฟกับความเสี่ยงต่อเบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • อวยพร อภิรักษ์อร่ามวง ภาควิชาชีวเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.2.1.81-92

Keywords:

กาแฟ, เบาหวานชนิดที่ 2, กรดคลอโรจีนิก, คาเฟอีน, อินครีติน

Abstract

กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกเป็นเวลานาน สารสำคัญในกาแฟนอกจากคาเฟอีนซึ่งมีฤทธิ์เพิ่มระดับนํ้าตาลในเลือด ยังมีสารในกลุ่มฟีนอลคือกรดคลอโรจีนิก (chlorogenic acid) ซึ่งเป็นเอสเตอร์ของกรดควินิกกับกรดคาเฟอิกหรือกรดเฟอรูริก มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและอาจมีผลลดหรือชะลอการดูดซึมของกลูโคสโดยยับยั้งการขนส่งกลูโคสในลำ ไส้เล็กด้วย glucose-6-phosphate translocase 1 อีกทั้งกรดคลอโรจีนิกมีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนที่สร้างจากทางเดินอาหารในการตอบสนองต่อการเดินทางของสารอาหารเข้าสู่ทางเดินอาหารที่เรียกว่า อินครีติน(incretin) ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีการหลั่งของอินซูลินหลังการรับประทานอาหารลดลงและมีความบกพร่องในการหลั่งของอินครีติน ดังนั้นการบริโภคกาแฟจึงมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Downloads

How to Cite

อภิรักษ์อร่ามวง อ. (2015). การบริโภคกาแฟกับความเสี่ยงต่อเบาหวานชนิดที่ 2. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 2(1), 81–92. https://doi.org/10.69598/tbps.2.1.81-92

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ