การใช้ Mycophenolate mofetil (MMF) เป็นยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย Lupus nephritis

Authors

  • กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2005.17

Keywords:

Mycophenolate mofetil, MMF, Lupus nephritis, enzyme

Abstract

Mycophenolate mofetil (MMF) เป็น ester prodrug ของ Mycophenolic acid (MPA)สารกดภูมิคุ้มกันที่มีคุณสมบัติยับยั้ง enzyme inosine monophosphate dehydrogenase(IMPDH) ซึ่งเป็น enzyme ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งตัวของ T และ B ลิมโฟไซต์ จากผลการศึกษาทางคลินิก องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงรับรองให้ใช้ยาดังกล่าวในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนไต และนำมาใช้ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2536 ต่อมามีการศึกษาในสัตว์ทดลองที่เป็น Lupus nephritis (LN) พบว่าสามารถลดปริมาณโปรตีนในปัสสาวะและลดการทำลายไต ซึ่งจากผลการทดลองดังกล่าว ทำให้มีผู้สนใจทำการศึกษาผลทางคลินิกของการใช้ MMF ในผู้ป่วย LN ผลการศึกษาทางคลินิกปัจจุบันพบว่าการใช้ MMF สำหรับการรักษาในขั้นแรก (induction therapy) เป็นเวลา 6 เดือน จะได้ผลดีในรายที่มีความรุนแรงของโรคปานกลางและได้ผลในระยะเวลาอันสั้น (12 เดือน) จากนั้นจะมีอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคมากขึ้นเมื่อเทียบกับ Cyclophosphamide (CYP) แต่หากใช้ในการรักษาแบบประคับประคองพบว่าจะมีประสิทธิภาพไม่ต่างกันและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ดังนั้นในการรักษา LN จึงจะใช้ MMF กรณีที่ดื้อต่อ CYP ในการรักษาขั้นแรก หรือกรณีที่เกิดผลข้างเคียงเมื่อใช้ CYP หรือ Azathioprine (AZA) จากการที่ MMF เข้ามามีบทบาทสำคัญใน LN จึงเป็นหน้าที่ของเภสัชกรที่ดูแลผู้ป่วย LN จะต้องแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง บอกผลข้างเคียงแก่ผู้ป่วย LN เพื่อให้ใช้ยาได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

Downloads

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ