เอทโธโซมสำหรับระบบนำส่งยาทางผิวหนัง ETHOSOMES FOR TRANSDERMAL DRUG DELIVERY SYSTEMS
DOI:
https://doi.org/10.69598/tbps.10.1.48-60Keywords:
เอทโธโซม, ลิโพโซม, ระบบนำส่งยาทางผิวหนัง, การซึมผ่านผิวหนังAbstract
ระบบนำส่งยาทางผิวหนังเป็นระบบที่ใช้บริหารยาเข้าสู่ร่างกายหรือออกฤทธิ์เฉพาะที่บริเวณผิวหนัง แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการซึมผ่านของตัวยาเข้าสู่ผิวหนังโดยผิวหนังชั้นสตราตัมคอร์เนียมซึ่งส่งผลต่อชีวประสิทธิผลของตัวยาในการออกฤทธิ์รักษา ผิวหนังชั้นสตราตัมคอร์เนียมจึงเป็นปัญหาหลักที่ท้าทายความสามารถในการนำส่งยาเข้าสู่ผิวหนัง มีการวิจัยหลากหลายวิธีเพื่อลดการขัดขวางของชั้นสตราตัมคอร์เนียม เช่น การใช้สารช่วยเพิ่มการซึมผ่านที่มีผลทางเคมีหรือทางกายภาพ มีรายงานการใช้ลิโพโซม นิโอโซม ทรานสเฟอร์โซม และเอทโธโซมในการเพิ่มการซึมผ่านของยาผ่านชั้นสตราตัมคอร์เนียม ปัจจุบันการใช้อนุภาคไขมันเพื่อนำส่งตัวยาผ่านผิวหนังกำลังได้รับความนิยม อย่างไรก็ตามการใช้ลิโพโซมแบบเดิมมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังชั้นลึกได้หรือผ่านได้ในปริมาณที่น้อย ไม่เพียงพอต่อการออกฤทธิ์รักษา ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบเอทโธโซมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1997 โดย Touitou และคณะ เอทโธโซมเป็นระบบอนุภาคขนาดเล็กที่มีส่วนประกอบของฟอสโฟลิพิด น้ำ และ
เอทานอลในปริมาณสูง โครงสร้างของเอทโธโซมประกอบด้วยโมเลกุลของไขมันเรียงตัวซ้อนกันสองชั้นล้อมรอบด้วยชั้นน้ำ โดยชั้นในสุดเป็นชั้นน้ำที่มีส่วนผสมของเอทานอล เอทานอลในปริมาณที่สูงเป็นสารช่วยเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังส่งผลให้ตัวยาสามารถซึมผ่านเข้าไปในผิวหนังชั้นที่ลึกมากขึ้นได้ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาเอทโธโซมได้รับความสนใจศึกษาเป็นอย่างมากเนื่องจากข้อดีต่าง ๆ อาทิเช่น การเพิ่มการซึมผ่านตัวยาในชั้นผิวหนังที่ลึกถึงชั้นหนังแท้ มีความสามารถในการกักเก็บปริมาณยาสูง และยังมีขนาดที่เล็กกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบลิโพโซม นอกจากนี้ยังมีการนำเอทโธโซมไปประยุกต์ใช้เพื่อนำส่งยารักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคมะเร็งผิวหนัง โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคเชื้อราผิวหนัง เป็นต้น โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบของเอทโธโซม กลไกการเพิ่มการซึมผ่านทางผิวหนัง วิธีการเตรียม การศึกษาคุณสมบัติของเอทโธโซม การศึกษาเปรียบเทียบระบบเอทโธโซมกับลิโพโซม รวมถึงการประยุกต์ใช้เอทโธโซมในแง่ของการนำส่งยาทางผิวหนัง
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
All articles published and information contained in this journal such as text, graphics, logos and images is copyrighted by and proprietary to the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, and may not be reproduced in whole or in part by persons, organizations, or corporations other than the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences and the authors without prior written permission.