การพัฒนาระบบฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมสังคมและเภสัชกรรมปฐมภูมิ DEVELOPMENT PROGRAM TO PRACTICING FOR SOCIAL AND PRIMARY PHARMACY CARE CLERKSHIP

Authors

  • RAPEEPUN CHALONGSUK Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • SURASIT LOCHID-AMNUAY Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • NAMFON SRIBUNDIT Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • PANOOPAT POOMPRUEK Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom
  • WITOON CHAITEERASAK Muaklek Hospital, Saraburi
  • PHOTCHANART TOPRASRI Huai Phlu Hospital, Nakhon Pathom
  • WITOON AUPARIGTATIPONG Huai Phlu Hospital, Nakhon Pathom
  • SIRAPRAPA CHENKA Phutthamonthon Hospital, Nakhon Pathom

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.10.1.75-89

Keywords:

งานเภสัชกรรมสังคมและเภสัชกรรมปฐมภูมิ, การฝึกปฏิบัติงานด้านเภสัชศาสตร์, หลักสูตรเภสัชศาสตร์

Abstract

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 สภาเภสัชกรรมได้กำหนดให้การรับรองหลักสูตรเภสัชศาสตร์ที่มีแผนการเรียนเป็นเวลา 6 ปี เพื่อการการฝึกทักษะในการปฏิบัติงานมากขึ้น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้พัฒนาหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยทางด้านสังคม วัฒนธรรม เพื่อช่วยแก้ปัญหาสุขภาพของประเทศ จึงได้พัฒนาระบบฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมสังคมและเภสัชกรรมปฐมภูมิสำหรับนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาเป็นเภสัชกรที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพของประชาชน

  วัตถุประสงค์ของการฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมสังคมและเภสัชกรรมปฐมภูมิ คือการพัฒนา ความรู้ ทักษะ และทัศนคติของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ต่องานพัฒนาระบบฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมสังคมและเภสัชกรรมปฐมภูมิ รวมถึงการฝึกปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพอื่น ๆ  ผลลัพธ์ทางด้านสมรรถนะที่ต้องการจากการฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมสังคมและเภสัชกรรมปฐมภูมิ ได้แก่ การค้นหาประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับยา การเข้าใจความเชื่อมโยงปัจจัยส่วนบุคคล บริบทของชุมชน   และ การเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา/พัฒนาอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงานฯ ได้ทำการประเมินผลระบบการฝึกปฏิบัติงาน พบว่านักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่องานเภสัชกรรมสังคมและเภสัชกรรมปฐมภูมิ นักศึกษาได้เรียนรู้การมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วย การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ระดับปฐมภูมิ  แต่ทักษะการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาของนักศึกษาต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม นอกจากนี้งบประมาณสนับสนุนการจัดกิจกรรมของนักศึกษาและคู่มือการเรียนรู้ชุมชนสำหรับเภสัชกรแหล่งฝึกต้องได้รับการพิจารณาดำเนินการต่อไป

Downloads

How to Cite

CHALONGSUK, R., LOCHID-AMNUAY, S., SRIBUNDIT, N., POOMPRUEK, P., CHAITEERASAK, W., TOPRASRI, P., AUPARIGTATIPONG, W., & CHENKA, S. (2015). การพัฒนาระบบฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมสังคมและเภสัชกรรมปฐมภูมิ DEVELOPMENT PROGRAM TO PRACTICING FOR SOCIAL AND PRIMARY PHARMACY CARE CLERKSHIP. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 10(1), 75–89. https://doi.org/10.69598/tbps.10.1.75-89

Issue

Section

บทความวิชาการ