ผลของวิธีการสกัดและตัวทำละลายต่อปริมาณสารแอลฟาแมงโกสตินที่สกัดได้จากเปลือกมังคุด

Authors

  • ชุติมา บุญรัตน์ ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • รัตนา อินทรานุปกรณ์ ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.10.2.1-11

Keywords:

แอลฟาแมงโกสทีน, สารสกัดเปลือกมังคุด, การตรวจสอบความถูกต้อง, เครื่องเขย่า, การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง, การสกัดแบบต่อเนื่อง

Abstract

จากการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสกัด 3 แบบ (การใช้เครื่องเขย่า การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงและการสกัดแบบต่อเนื่อง) และตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด 2 ชนิด (เมทานอลและเอทานอล) ที่สามารถสกัดสารสำคัญแอลฟาแมงโกสทีนจากเปลือกมังคุดได้สูงสุด พบว่าการสกัดแบบต่อเนื่องด้วยตัวทำละลายเมทานอลและเอทานอลให้ปริมาณแอลฟาแมงโกสทีนมากกว่าการสกัดด้วยวิธีอื่น  การสกัดแบบต่อเนื่องด้วยตัวทำละลายเมทานอลจะให้ปริมาณแอลฟาแมงโกสทีนสูงสุด ในขณะที่การสกัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลจะให้ปริมาณแอลฟาแมงโกสทีนต่ำสุด ดังนั้นการสกัดแบบต่อเนื่องด้วยตัวทำละลายเมทานอลจัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของวิธีสกัดที่ให้ปริมาณแอลฟาแมงโกสทินสูงจากสารสกัดและผลิตภัณฑ์เปลือกมังคุด นอกจากนี้ยังได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะ สูง (เอชพีแอลซี) ให้ได้วิธีที่ง่าย รวดเร็วและจำเพาะแก่การวิเคราะห์แอลฟาแมงโกสทีนในสารสกัดจากเปลือกมังคุด ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ  พร้อมทั้งทำการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น พบว่าเป็นวิธีวิเคราะห์ที่ปริมาณสารแอลฟาแมงโกสทีนมีความสัมพันธ์เป็นเส้น ตรงกับค่าที่วัดได้ อีกทั้งมีความถูกต้องและแม่นยำสำหรับการควบคุมคุณภาพ

Downloads

How to Cite

บุญรัตน์ ช., & อินทรานุปกรณ์ ร. (2015). ผลของวิธีการสกัดและตัวทำละลายต่อปริมาณสารแอลฟาแมงโกสตินที่สกัดได้จากเปลือกมังคุด. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 10(2), 1–11. https://doi.org/10.69598/tbps.10.2.1-11

Issue

Section

บทความวิจัย