การทำนายความเข้มข้นของยาคาร์บาร์มาซีปีนในซีรั่มในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคลมชักโดย แบบจำลองเภสัชจลนพลศาสตร์ประชากรที่ปรับแล้ว

Authors

  • มนัส มนัส พงศ์ชัยเดชา ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
  • ชมภูนุช วีระวัธนชัย กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี
  • สมชาย โตวณะบุตร ศูนย์สารสนเทศทางประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร
  • อาคม อารยาวิชานนท์ กลุ่มงานแพทย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2015.9

Keywords:

คาร์บามาซีปีน, เภสัชจลนพลศาสตร์ประชากร, โรคลมชัก

Abstract

      วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ต้องการทำนายค่าความเข้มข้นของยาคาร์บาร์มาซีปีนในซีรั่มที่สภาวะคงที่โดยอาศัยค่าอัตราการขจัดยา (CL/F) จากแบบจำลองเภสัชจลนพลศาสตร์ประชากรของเกรฟ, ไรทช์, ชาน, เจา 2003 และเจา 2004 และค่าจากแบบจำลองดังกล่าวที่ปรับ นอกจากนี้ยังต้องการเปรียบเทียบค่าอคติ (bias) (mean error, me) และค่าความแม่นยำ (precision) (root mean square error, rmse) เพื่อเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุด โดยใช้การเก็บข้อมูลระดับยาคาร์บาร์มาซีปีนในซีรั่มของผู้ป่วยโรคลมชักที่มารับรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอกของสถาบันประสาทวิทยา จำนวน 99 ราย และโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 32 ราย รวมทั้งสิ้น 131 ราย โดยการเก็บข้อมูลแบบติดตามไปข้างหน้า โดยเลือกแบบจำลองประชากรที่มีค่าอคติและค่าความแม่นยำใกล้ค่าศูนย์ที่สุด เป็นแบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยชาวไทยที่เป็นโรคลมชัก นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมอีกจำนวน 40 ราย เพื่อทดสอบแบบจำลอง (model validation) ประชากรที่เลือกแล้วกับแบบจำลองต้นแบบที่ศึกษา

          ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แบบจำลองประชากรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยชาวไทยที่เป็นโรคลมชัก ได้จากการปรับแบบจำลองของเจา 2004 โดยแบบจำลองดังกล่าวเป็นดังนี้ CL/F (L/hr) = 0.165 x dose (mg/d) 0.41 x TBW (kg) 0.11 x 1.25 VPA x 1.18 PHT x 1.27 PB และเมื่อได้ค่า CL นำไปคำนวณต่อหา C ssmin (mg/mL) = Dose (mg/day)/CL (L/day) โดยค่า Mean Error เท่ากับ 0.02 (95%CI -0.3, 0.40) และ ค่า Root Mean Square Error เท่ากับ 2.13 (95%CI 1.83, 2.38) ซึ่งต่ำที่สุดแสดงว่ามีค่าอคติต่ำ และความแม่นยำสูง เมื่อทดสอบโดยใช้ข้อมูลกับผู้ป่วยจำนวน 40 ราย เปรียบเทียบกับแบบจำลองอื่น ๆ พบว่าแบบจำลองที่ปรับแล้วมีค่า Mean Error  เท่ากับ -0.96 (95%CI  -1.67, -0.26) และมีค่า Root Mean Square Error เท่ากับ 2.39 (95%CI  1.80, 2.85) เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่า Mean Error ของแบบจำลองที่ปรับแล้วกับแบบจำลองอื่นทีละคู่ พบว่าแบบจำลองของเจา 2004 ที่ปรับแล้วมีค่า Mean Error ต่ำกว่าแบบจำลองของไรทช์, เจา 2003 และ เจา 2004 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ p=0.004, p<0.001 และ p<0.001 ตามลำดับ  และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กับแบบจำลองของเกรฟและชาน ส่วนการทดสอบความแตกต่างของค่า Root Mean Square Error ของแบบจำลองของเจา 2004 ที่ปรับแล้ว กับแบบจำลองอื่น ๆ ทีละคู่ พบว่าแบบจำลองที่ปรับแล้ว แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญกับแบบจำลองของเกรฟ แต่แตกต่างจากแบบจำลองของ ไรทช์, ชาน, เจา 2003 และเจา 2004  อย่างมีนัยสำคัญที่  p=0.034, 0.002, 0.005 และ 0.001 ตามลำดับ

          จากผลการศึกษาที่ได้สรุปได้ว่าแบบจำลองของเจา 2004 ที่ปรับแล้ว เป็นแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยชาวไทยที่เป็นโรคลมชัก สามารถทำนายได้แม่นยำและเที่ยงตรงกว่าแบบจำลองเดิมของเกรฟ, ไรทช์, ชาน, เจา 2003 และเจา 2004

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย