การศึกษาความคงสภาพของไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ในรูปแบบยาเตรียมเฉพาะคราว ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

Authors

  • ชญานิศ ศรชัยธวัชวงศ์ สาขาวิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นครนายก
  • วรรณคล เชื้อมงคล สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นครนายก
  • นวภรณ์ วิมลสาระวงศ์ ฝ่ายเภสัชกรรม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรุงเทพมหานคร
  • กิจจา สีห์โสภณ ฝ่ายขึ้นทะเบียนยา บริษัท บิซเวล มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, สมุทรสาคร
  • ศรัณย์ สุดเจริญ บริษัท บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด, กรุงเทพมหานคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2015.10

Keywords:

ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์, ยาเตรียมเฉพาะคราว, ยาน้ำแขวนตะกอน, ความคงสภาพ

Abstract

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบหาความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ ในรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนความแรง 10 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ที่เก็บในขวดสีชาที่สภาวะอุณหภูมิต่าง ๆ โดยทดสอบความคงสภาพทางกายภาพและทางเคมีในสภาวะต่าง ๆ ได้แก่ อุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส), อุณหภูมิห้อง (25-30 องศาเซลเซียส)  และอุณหภูมิเร่ง (45 องศาเซลเซียส) โดยทำการทดสอบในวันที่ 0, 7, 14, 28 และ 42 ความคงสภาพทางกายภาพประเมินจากสีของตำรับยา และการกระจายตัวของผงยาเมื่อเขย่า ส่วนความคงสภาพทางเคมีพิจารณาจากค่าความเป็นกรด-ด่าง และวิเคราะห์ร้อยละปริมาณตัวยาคงเหลือในตำรับยาด้วยวิธี reversed phase HPLC ผลการทดสอบความคงสภาพทางกายภาพ พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ทุกสภาวะของการทดสอบตลอดระยะเวลาที่ศึกษา ส่วนการทดสอบความคงสภาพทางเคมี พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-ด่างของยาทุกสภาวะตลอดช่วงเวลาที่ใช้ทดสอบเช่นกัน สำหรับการวิเคราะห์ร้อยละปริมาณตัวยาคงเหลือในตำรับยาด้วยวิธี HPLC พบว่ายาเตรียมเฉพาะคราวไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ที่เก็บไว้ทั้งสามสภาวะ มีปริมาณตัวยาคงเหลืออยู่ในช่วงร้อยละ 90-110 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตลอดระยะเวลา 42 วันที่ศึกษา ดังนั้นยาเตรียมเฉพาะคราวไฮโดรคลอโรไทอะไซด์รูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนนี้ สามารถเก็บที่อุณหภูมิเร่งหรืออุณหภูมิห้องหรือตู้เย็นในขวดสีชาเป็นเวลา 42 วันโดยที่ยายังคงมีปริมาณตัวยาสำคัญไม่ต่ำกว่า 9 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร จากข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้ทางคลินิกเพื่อช่วยกำหนดอายุและสภาวะการเก็บรักษายาเตรียมดังกล่าวเพื่อให้มีผลทางการรักษา

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย