การพัฒนาวัคซีนแบบย้อนกลับ

Authors

  • วรวุฒิ อ่อนเอี่ยม ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.10.2.82-98

Keywords:

วัคซีน, ชีวสารสนเทศ, การพัฒนาวัคซีนแบบย้อนกลับ, โรคไข้กาฬหลังแอ่น Neisseria meningitidis serogroup B

Abstract

การใช้วัคซีนเป็นหนทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดอัตราการเกิดโรคและการตายจากโรคติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามในโรคติดเชื้อบางโรคยังคงไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการนำมาใช้ในการป้องกันโรค เนื่องมาจากวิธีการในการพัฒนาวัคซีนแบบดั้งเดิมไม่สามารถนำมาใช้ในการค้นหาแอนติเจนที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในการพัฒนาวัคซีนต่อไปได้ อีกทั้งยังใช้เวลาและเงินทุนในการพัฒนาวัคซีนค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและชีวสารสนเทศพัฒนาไปมากทำให้เราสามารถออกแบบวัคซีนโดยใช้เพียงเครื่องมือบนคอมพิวเตอร์นำมาใช้ในการทำนายหาแอนติเจนที่เหมาะสมจากข้อมูลพันธุกรรมของเชื้อได้ ซึ่งวิธีการนี้มีชื่อเรียกว่า การพัฒนาวัคซีนแบบย้อนกลับ วิธีการนี้สามารถลดระยะเวลาที่ใช้ในการค้นหาแอนติเจน และอาจเป็นหนทางใหม่สำหรับวัคซีนที่ยากต่อการพัฒนาในปัจจุบัน การพัฒนาวัคซีนแบบย้อนกลับถูกนำมาประยุกต์ใช้ครั้งแรกในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นที่เกิดจากเชื้อ Neisseria meningitidis serogroup B ทำให้สามารถค้นพบแอนติเจนใหม่เพิ่มอีก 3 ชนิดคือ fHbp NadA และ NHBA ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ดี ซึ่งเมื่อนำมาพัฒนาเป็นวัคซีนร่วมกับแอนติเจนที่เป็นโปรตีนบนพื้นผิวเซลล์ที่ค้นพบก่อนหน้านี้ ทำให้ได้วัคซีนตัวใหม่ที่มีชื่อการค้าว่า Bexsero® ต่อมาวัคซีนนี้ได้ผ่านการรับรองให้ใช้ได้ในประเทศแถบยุโรปในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 และในประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 ซึ่งผลจากความสำเร็จนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในกระบวนการพัฒนาวัคซีนแบบย้อนกลับและอาจนำวิธีการนี้มาใช้ในการพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อที่สำคัญอีกหลายโรคต่อไปในอนาคต

Downloads

How to Cite

อ่อนเอี่ยม ว. (2015). การพัฒนาวัคซีนแบบย้อนกลับ. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 10(2), 82–98. https://doi.org/10.69598/tbps.10.2.82-98

Issue

Section

บทความวิชาการ