อัตราการเลิกสูบบุหรี่หลังจากได้รับบริการเลิกบุหรี่จากเภสัชกรชุมชน SUCCESS RATES FOR SMOKING CESSATION SERVICE BY COMMUNITY PHARMACIST

Authors

  • ระพีพรรณ ฉลองสุข ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
  • วิไล บัณฑิตานุกูล ร้านยาเรือนยา กรุงเทพมหานคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2016.2

Keywords:

บุหรี่, เภสัชกรชุมชน, การเลิกบุหรี่, community pharmacist, smoking cessation, tobacco

Abstract

        โครงการให้บริการเลิกบุหรี่ของร้านยาคุณภาพในกรุงเทพมหานครของสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) โดยใช้เทคนิค 5 A (“Ask-Advise-Assess-Assist-Arrange”) เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้เสพบุหรี่ในการเข้าถึงบริการลด ละ และเลิกการบริโภคบุหรี่ จะนำไปสู่การลดปัญหาด้านสุขภาพและการสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องจากการเสพบุหรี่ของทั้งผู้เสพบุหรี่และสังคมโดยรวม โครงการนี้ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2 ปี ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการประเมินการเปลี่ยนแปลงจำนวนบุหรี่ที่สูบหลังจากได้รับบริการเลิกบุหรี่ และประเมินอัตราการเลิกสูบบุหรี่หลังจากได้รับบริการเลิกบุหรี่จากเภสัชกรชุมชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยอาศัยข้อมูลจากแบบบันทึกการให้บริการเลิกบุหรี่ของร้านยาที่เข้าร่วมโครงการมาวิเคราะห์ ซึ่งมีทั้งหมด 489 คน (ด้วยสถิติเชิงพรรณาความเสี่ยงสัมพัทธ์  Wilcoxon Signed Ranks Test และ Chi-square test) การศึกษาพบว่าอัตราการเลิกบุหรี่หลังการติดตาม 180 วัน คิดเป็นร้อยละ 6.32 และผู้ที่ยังไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้มีการลดจำนวนบุหรี่ที่สูบในแต่ละวันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .005) ลักษณะของกลุ่มที่เลิกสูบบุหรี่ได้หลังจากรับบริการ 180 วัน คือ ในแต่ละวันสูบบุหรี่ในจำนวนไม่กี่มวน มีความตั้งใจในการเลิกบุหรี่สูง กลุ่มที่เลือกหยุดสูบบุหรี่ทันทีมีโอกาสของการหยุดสูบได้มากกว่าการกำหนดวันหยุดสูบ (ความเสี่ยงสัมพัทธ์ = 1.29, ช่วงความเชื่อมั่น 95% 0.61-2.71) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มที่เลิกสูบบุหรี่ได้ส่วนใหญ่เคยเลิกสูบบุหรี่มาก่อน ดังนั้นจึงควรต้องมีการเฝ้าระวังผลการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่แล้วอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับมาสูบอีก

       The community pharmacist-run smoking cessation program of the community pharmacy association (Thailand) has been implemented for 2 years. This program has increased the opportunities for smokers to reduce the amount of cigarettes consumed and quit smoking using the “5 As” model. The aim of this study was to assess the changes in the amount of tobacco smoked per day and to analyze the quit rate after the program. The data from service reports was gathered from 489 subjects who had volunteered to participate in the study. The data were then analyzed using descriptive statistics, relative risk, and the Wilcoxon Signed Ranks Test.  The result revealed that the successful quit rate after a 180 day follow-up was 6.32% and the amount of smoked tobacco per day in the failure group was statistically decreased (p = .005). The characteristics of the successful group after a 180 day follow-up included having smoked fewer cigarettes per day and having a strong intention to quit. The attempted spontaneous quitters had greater opportunities to quit than the target quit date setting group (RR = 1.29, 95% confidence interval 0.61-2.71), with no statistical significance. Most of those in the successful group had already quit smoking once, so the monitoring of their abstinence was important to prevent them from relapsing.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย