การพิสูจน์เอกลักษณ์ของเครื่องยาจันทน์ชะมดด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง IDENTIFICATION OF CHAN-CHAMOT BY THIN LAYER CHROMATOGRAPHY

Authors

  • สุนันทา ศรีโสภณ ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
  • จันคนา บูรณะโอสถ ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
  • อุทัย โสธนะพันธุ์ ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.11.1.47-57

Keywords:

จันทน์ชะมด, การพิสูจน์เอกลักษณ์, โครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง, Chan-chamot, identification, thin layer chromatography, Mansonia gagei, mansonone G

Abstract

        “จันทน์ชะมด” เป็นเครื่องยาไทยที่มีชื่อเรียกและชื่อพ้องซ้ำกับพืชสมุนไพรมากกว่าหนึ่งชนิด ทำให้เกิดความสับสนถึงชนิดทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องของเครื่องยาชนิดนี้  จากการสุ่มซื้อตัวอย่างจากร้านขายยาไทยแหล่งต่าง ๆ จำนวน 17 ตัวอย่าง นำมาตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธีโครมาโท
กราฟีแบบชั้นบาง เปรียบเทียบกับตัวอย่างอ้างอิง และสกัดแยกสารบริสุทธิ์ที่เป็นองค์ประกอบหลัก นำมาพิสูจน์โครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิคต่าง ๆ ทางสเปกโทรสโกปี พบว่าเครื่องยาทุกตัวอย่างมีลายพิมพ์ขององค์ประกอบทางเคมีเหมือนพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mansonia gagei และพบสาร mansonone G ที่มีรายงานว่าเป็นองค์ประกอบทางเคมีของพืชชนิดนี้  จึงสรุปว่าเครื่องยาจันทน์ชะมดที่มีจำหน่ายในปัจจุบันคือ แก่นของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า M. gagei 

        “Chan-chamot” is a Thai crude drug that its name and its synonym are confusing with other medicinal plants.  This may cause averse of impacts on misuses from its misidentification.  Seventeen samples of Chan-chamot were randomly purchased from Thai traditional  drugstores. Their chemical fingerprints performed by thin layer chromatography were compared with the authentic samples.  A main chemical constituent was also isolated and identified as mansonone G by spectroscopic techniques.  The results indicated that all samples gave similar chromatograms to Mansonia gagei and contained mansonone G, a major chemical constituent found in M. gagei.  Therefore Chan-chamot currently available in Thai traditional drugstore is the wood of M. gagei.

Downloads

How to Cite

ศรีโสภณ ส., บูรณะโอสถ จ., & โสธนะพันธุ์ อ. (2016). การพิสูจน์เอกลักษณ์ของเครื่องยาจันทน์ชะมดด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง IDENTIFICATION OF CHAN-CHAMOT BY THIN LAYER CHROMATOGRAPHY. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 11(1), 47–57. https://doi.org/10.69598/tbps.11.1.47-57

Issue

Section

บทความวิจัย