ความต้องการของหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลในการเพิ่มพูนองค์ความรู้ของ เภสัชกรโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข NEEDS FOR KNOWLEDGE IMPROVEMENT OF HOSPITAL PHARMACISTS: PERSPECTIVES FROM HEADS OF HOSPITAL PHARMACY DEPARTMENTS UNDER T
DOI:
https://doi.org/10.69598/tbps.11.1.58-71Keywords:
ความต้องการ, เภสัชกรโรงพยาบาล, องค์ความรู้, need, hospital pharmacist, knowledgeAbstract
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในด้านเนื้อหาและรูปแบบ รวมถึงความเต็มใจจ่ายในการเพิ่มพูนองค์ความรู้ของเภสัชกรโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นโดยมีการประเมินความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเข้าใจของแบบสอบถามก่อนส่งแบบสอบถามไปยังหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ จำนวน 824 ฉบับทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าน้อยที่สุดและค่ามากที่สุด ผลการวิจัยจากแบบสอบถามที่ตอบกลับมาจำนวน 490 ฉบับ (ร้อยละ 59.47) พบว่ารูปแบบที่เภสัชกรโรงพยาบาลต้องการเพิ่มพูนองค์ความรู้มากที่สุด คือการประชุมอบรม (ร้อยละ 78.57) รองลงมา คือ การค้นคว้าด้วยตนเอง และการศึกษาดูงาน ตามลำดับ และเภสัชกรโรงพยาบาลสนใจในเนื้อหาการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ร้อยละ 78.57)มากที่สุด รองลงมา คือ ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับงานเภสัชกรรม (ร้อยละ 71.84) และระบบยาและการจัดการความปลอดภัยด้านยา (ร้อยละ 68.57) สำหรับการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในระยะยาว คือ การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทขึ้นไป พบว่าส่วนใหญ่สนใจศึกษาต่อในสาขาเภสัชกรรมคลินิกหรือการบริบาลทางเภสัชกรรม จำนวน 422 แห่ง ส่วนค่าความเต็มใจจ่ายอยู่ในช่วงที่ไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละเนื้อหา คิดค่ามัธยฐานได้ 4,375 บาท ทั้งนี้ ความต้องการเพิ่มพูนองค์ความรู้ของเภสัชกรยังคงให้ความสนใจกับเนื้อหาที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานในภาระงานประจำของเภสัชกรโรงพยาบาล ผู้ที่เกี่ยวข้องควรวางแผนการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้แก่เภสัชกรโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง
The objective of this research was to study the needs to improve the knowledge in the field of content, the channels for the enhancement of knowledge, and the willingness to pay for the enhancement of knowledge, of hospital pharmacists under The Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Public Health. The tool for data collection was a questionnaire which was developed by the researcher and evaluated for content validity by experts and tested in a preliminary study. 824 questionnaires were sent to Heads of Pharmaceutical Departments under the Ministry of Public Health bypost. Data were analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, median, mode, minimum and maximum. The research findings gained from the 490 sets of responded questionnaires (59.47%) found that hospital pharmacists were mainly interested in accumulating their knowledge by attending conferences (78.57%), followed by worksite visits and self-study. In addition, hospital pharmacists were interested in the areas of adverse drug reaction monitoring (78.57%), followed by research methodology for pharmacists (71.84%) and medication systems and medication safety management (68.57%). In order to improve their knowledge in the long run, hospital pharmacists were interested in studying for a Master’s degree. Most hospital pharmacists (from 422 hospitals) were interested in the field of clinical or pharmaceutical care programs. As for willingness to pay (WTP), the values did not clearly vary in range. The median WTP was 4,375 baht. More over, for the need to accumulate knowledge for pharmacists, the main interest was in the content that could be practically used in the routine workplace of hospital pharmacists. Therefore, the organizations responsible for pharmaceutical training should have further plans to increase the knowledge of pharmacists that enable them to actually practice.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
All articles published and information contained in this journal such as text, graphics, logos and images is copyrighted by and proprietary to the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, and may not be reproduced in whole or in part by persons, organizations, or corporations other than the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences and the authors without prior written permission.