การเปลี่ยนแปลงความฉลาดทางอารมณ์หลังจากการเรียน 5 ปี ในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร CHANGE OF EMOTIONAL INTELLIGENCE AFTER 5 YEARS OF COURSE WORK IN DOCTOR OF PHARMACY PROGRAM, SILPAKORN UNIVERSITY

Authors

  • นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
  • วารุณี ดอกไม้งาม งานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2016.1

Keywords:

ความฉลาดทางอารมณ์, เภสัชศาสตร์ศึกษา, อีคิว, emotional intelligence, emotional quotient, pharmacy education, EQ

Abstract

      เป้าหมายของการศึกษาไม่เพียงแค่ต้องการให้บุคคลมีความรู้เท่านั้นแต่ควรทำให้บุคคลมีความฉลาดทางอารมณ์ด้วย  มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีการนำหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตที่เป็นหลักสูตรเภสัชศาสตร์ 6 ปี มาใช้ในปี พ.ศ. 2552  ในหลักสูตรนี้ นักศึกษาเภสัชศาสตร์ จะมีการเรียนรายวิชาตามหลักสูตรทั้งหมด 5 ปี และฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพอีก 1 ปี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดการเปลี่ยน แปลงของความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ หลังจากที่เรียน 5 ปีตามหลักสูตรใหม่ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษารุ่นแรกทุกคนที่ได้เข้ามาศึกษาในหลักสูตรใหม่ เภสัชศาสตรบัณฑิต 6 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่สมัครใจเข้าร่วมการศึกษา ใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ที่พัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต ประเทศไทย เป็นเครื่องมือในการศึกษา  ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาแต่ละคน ถูกวัด 2 ครั้ง  เมื่อปีหนึ่งของการเป็นนักศึกษาและหลังจากเรียนรายวิชาครบตามหลักสูตรในเวลา
5 ปีต่อมา ผลการศึกษาพบว่ามีนักศึกษา 127 คนที่ทำแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ครบทั้ง 2 ครั้ง คะแนนรวมของความฉลาดทางอารมณ์เมื่อปีที่ 1 และหลังจากการเรียนตามหลักสูตรไปแล้ว 5 ปีนั้นไม่แตกต่างกัน (168.97 + 13.78 และ 168.20 + 15.27 ตามลำดับ, P=0.485) แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในด้านความเข้าใจ/เห็นใจผู้อื่นและความภูมิใจในตนเอง (20.11 +2.09 และ 19.51+ 2.32, P= 0.005; 13.00 + 1.69 และ 12.17 + 1.79, P < 0.001 ตามลำดับ)  

      โดยสรุปการเรียน 5 ปีตามหลักสูตรเภสัชศาสตร์ไม่มีผลต่อคะแนนรวมของความฉลาดทางอารมณ์  ผลการศึกษานี้จะช่วยสร้างความตระหนักให้อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการออกแบบรายวิชาหรือกระบวนการสอนให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา

      The aim of education is not only to develop individuals to have knowledge but also to have people with emotional intelligence (EI). Silpakorn University was implemented Doctor of Pharmacy Program which is the 6-year pharmacy curriculum in the year 2009. In this program, pharmacy students have to study course work for 5 years and practice their professional training for another 1 year. This study aimed to evaluate the change of EI of pharmacy students after the 5-year course work of the new curriculum. The samples were all students who were the first generation of the new 6-year Doctor of Pharmacy Program at Silpakorn University and volunteered to enroll. Thai Emotional Intelligence Screening test (EIST) developed by the Department of Mental Health of Thailand was used as a tool.  Individual EI of each student was measured 2 times, at the first year and after the pharmacy course work was completed 5 years later. There were 127 students who completed 2 times of EI evaluations. The total scores of EI at the first year and after 5-year course work were not different. (168.97 + 13.78 vs 168.20 + 15.27 respectively, P = 0.485) However, it was found that there were significant differences of   EI scores in the empathy and self-pride sub-domain. (20.11 + 2.09 vs 19.51 + 2.32, P= 0.005; 13.00 + 1.69 vs 12.17 + 1.79, P < 0.001 respectively).

       In conclusions, there was no effect of 5-year pharmacy course work on the total EI scores. This result may be helpful for Silpakorn pharmacy instructors to recognize how to design appropriate course or teaching process to foster students’ EI.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย