ผลกระทบของโรคซึมเศร้าในด้านการขาดงานและการด้อยความสามารถในผู้ป่วยคนไทยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าชนิด Major Depressive Disorder IMPACT OF DEPRESSION ON WORK LOSS AND DISABILITIES IN THAI PATIENTS WITH MAJOR DEPRESSIVE DIOSRDER
DOI:
https://doi.org/10.69598/tbps.11.2.1-12Keywords:
โรคซึมเศร้า, การขาดงาน, การด้อยความสามารถ, major depressive disorders, work absence, poor performanceAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการขาดงานและการด้อยความสามารถในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับการรักษาและเพื่อประเมินผลการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยาต้านเศร้า ในผู้ป่วยไทยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้าชนิด Major Depressive Disorder (MDD) ครั้งแรก ผ่านการซักประวัติและตอบแบบสอบถามด้วยแบบวัด Lam Employment and Productivity Scale (LEAPs) เพื่อประเมินการขาดงานและการด้อยความสามารถ และ Thai Depression Inventory (TDI) เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ในวันแรกที่เข้ารับการรักษาและในวันที่แพทย์นัดติดตามผลในช่วง 6-12 สัปดาห์ถัดมา ผลลัพธ์ในการศึกษาคือ การขาดงานและการด้อยความสามารถที่ประเมินได้ในวันแรก โดยใช้สถิติพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนการขาดงานและสมรรถภาพการทำงานที่ประเมินได้ก่อนการรักษากับหลังการรักษา 6-12 สัปดาห์ ด้วยสถิติ Paired-t test และความรุนแรงของ LEAPs และ TDI ด้วย Fisher’s exact test มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 35 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.43 อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 44.54±11.34 ปี ก่อนเข้ารับการรักษาพบว่า ผู้ป่วยมีการทำงานส่วนใหญ่แบบทำงานที่ก่อให้เกิดรายได้ร่วมกับงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ร่วมกันและในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนได้รับการรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการทำงานที่ลดลงมากกว่าร้อยละ 80 และพบว่า มีภาวะบกพร่องของการทำงานในระดับรุนแรง เมื่อพิจารณายาต้านเศร้าที่ได้รับพบว่าส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยยา fluoxetine รองลงมาคือ sertraline และส่วนใหญ่เมื่อเข้ารับการรักษาครั้งที่สองไม่มีการปรับชนิดหรือขนาดยา การประเมินการขาดงานหรือการลดลงของการทำงาน พบว่า ทั้งงานที่ก่อให้เกิดรายได้และงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หลังได้รับการรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการทำงานไม่ลดลงหรือลดลงน้อยกว่าร้อยละ 20 จากการประเมินด้วย LEAPs และ TDI พบว่าคะแนนเฉลี่ยของ LEAPs ก่อนการรักษาคือ 18.26±6.03 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับบกพร่องรุนแรงและหลังได้รับการรักษา ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ย 6.31±6.49 คะแนน จัดอยู่ในระดับบกพร่องเล็กน้อย ซึ่งเมื่อแยกระดับความรุนแรงตามคะแนนที่ได้พบว่า ก่อนได้รับการรักษา ผู้ป่วยทุกรายมีความบกพร่อง แต่เมื่อติดตามผู้ป่วยหลังการรักษา มีผู้ที่ไม่พบความบกพร่องจำนวน 17 ราย เมื่อพิจารณาคะแนน TDI พบว่าก่อนการรักษาคือ 34.49±8.40 คะแนนจัดอยู่ในภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ส่วนหลังการรักษามีคะแนนเฉลี่ยเป็น 15.83±12.75 คะแนนจัดอยู่ในระดับไม่มีภาวะซึมเศร้า เมื่อพิจารณาตามความรุนแรงพบว่า ก่อนการรักษาผู้ป่วยทุกรายมีภาวะซึมเศร้าและเมื่อประเมินหลังการได้รับการรักษาพบว่า มีผู้ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 25 ราย
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ทำให้สมรรถภาพการทำงานลดลง โดยมีผลทำให้เกิดทั้งการขาดงานและด้อยความสามารถ ซึ่งผลการลดลงของศักยภาพ ทำให้เกิดสูญเสียผลิตผลที่ควรมี การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยาต้านเศร้าสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมาทำงานได้ ซึ่งเป็นประโยชน์นอกเหนือจากการรักษาอาการหลักของโรคซึมเศร้า
The objectives of this study were to assess work absence and poor performance in newly diagnosed Major Depressive Disorders (MDD) Thai patients before and after treatment, and to assess treatment outcomes of antidepressants. Our study included newly diagnosed MDD patients in a psychiatric hospital by history taking and screening using inclusion criteria. Our study used the Lam Employment and Productivity Scale (LEAPs) to assess the work absence and poor performance and Thai Depression Inventory (TDI) to assess the severity of depression. The patients were assessed independently by both psychiatrists and pharmacists at baseline and 6- to 12-week of follow up. Outcomes were work absence, LEAPs and TDI score. Descriptive statistics were used for baseline characteristics. The LEAPs and TDI total score compared between baseline and follow up using Paired-t test. The LEAPs and TDI severity compared using Fisher’s exact test. A total of 35 patients, 25 were women (71.43%) with average 44.54±11.34 years old. Before receiving treatment of MDD, almost all the patients worked for both income and non-performing income purpose. Two weeks before receiving treatment, the majority of patients had dropped their productivity rate more than 80%. In the treatment, most antidepressants prescribed were fluoxetine and sertraline, respectively. After the treatment, the work absence of most patients did not decrease or decreased less than 20% in both income and non-performing income groups. The average LEAPs score before treatment was 18.26±6.03 and after treatment was 6.31±6.49. All patients showed impairment at baseline but after treatment there were 17 patients with no impairment. For TDI, the average TDI before treatment was 34.49±8.40 and after was 15.83±12.75. When classified by severity, all patients at baseline had depression, however we found 25 patients with no depression after treatment.
In conclusion, MDD has impact on functions that affect both work absence and poor performance. The management of MDD with antidepressant show patients returned to their regular performance, which was beyond the treatment of depression.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
All articles published and information contained in this journal such as text, graphics, logos and images is copyrighted by and proprietary to the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, and may not be reproduced in whole or in part by persons, organizations, or corporations other than the Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences and the authors without prior written permission.