ความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านยาในจังหวัดนครปฐมต่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดเกี่ยวกับสถานที่ อุปกรณ์ และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2557 PHARMACY OWNERS’ OPINIONS IN NAKHON PATHOM PROVINCE ON

Authors

  • วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์ ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม
  • ชนิกา อยู่กลั่นเถื่อน ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม
  • พัชรินทร์ ปัญญาเครือ ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม
  • รวิวรรณ นาครินทร์ ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม
  • เอกสิทธิ์ อธิตระกูลเลิศ ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.11.2.27-44

Keywords:

กฎหมายยา, วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน, drug act, good pharmacy practice, GPP

Abstract

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านยาต่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดเกี่ยวกับสถานที่ อุปกรณ์ และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2557 ในการปฏิบัติตามและความต้องการให้รัฐสนับสนุน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูล ณ วันที่ 27 มี.ค. - 4 เม.ย. 2558 โดยใช้แบบสอบถามและมีแบบสอบถามตอบกลับมาจำนวน 94 ฉบับ จากจำนวนทั้งหมด 294 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 31.97 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ข้อมูลความคิดเห็นในการปฏิบัติตามและความต้องการให้รัฐสนับสนุนตามประกาศกระทรวงฯ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

       ผลการศึกษาพบว่า วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน หมวดบุคลากร เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการร้านยามีความคิดเห็นในการปฏิบัติตามได้มากที่สุด (ร้อยละ 66.17) ส่วนในหมวดการให้บริการทางเภสัชกรรมกับผู้ป่วย เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการร้านยามีความคิดเห็นในการปฏิบัติตามได้น้อยที่สุด (ร้อยละ 13.74) โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการร้านยาส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นอุปสรรคและต้องการให้รัฐสนับสนุน ได้แก่ เรื่องให้รัฐออกแบบฟอร์มที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะในเรื่องฉลากบนซองบรรจุยา (ร้อยละ 10.64) งบประมาณเรื่องปรับปรุงสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันให้มีพื้นที่ขาย ให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้ยาติดต่อกันขนาดไม่น้อยกว่า 8 ตร.ม. (ร้อยละ 5.32)

         This research aimed to survey the opinions of Pharmacy owners toward the Notification of the Ministry of Public Health B.E. 2557 (2014) on the regulations of settings, equipments and Good Pharmacy Practice : GPP compliance and the need for government support. The data were collected by using a questionnaire. There were 94 replies received of the total 294 of surveys which were calculated as 31.97%. Demographic information, compliance, and the need for government support were analyzed by using descriptive statistics which were frequency, means, percentage, and standard deviation.

         The result showed that the guidelines for community pharmacy on personal classification was the most performance (66.17%). Whereas the pharmaceutical services classification was the least performance (13.74%). The most important barrier for pharmacy owner and the need for government support were design the standard form which were composed of the label of sachets (10.64%), funding for renovation of the selling  and counseling space in drug store with at least 8 square meters (5.32%).

Downloads

Published

2016-11-18

How to Cite

ถาวรวัฒนยงค์ ว., อยู่กลั่นเถื่อน ช., ปัญญาเครือ พ., นาครินทร์ ร., & อธิตระกูลเลิศ เ. (2016). ความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านยาในจังหวัดนครปฐมต่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดเกี่ยวกับสถานที่ อุปกรณ์ และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2557 PHARMACY OWNERS’ OPINIONS IN NAKHON PATHOM PROVINCE ON. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 11(2), 27–44. https://doi.org/10.69598/tbps.11.2.27-44

Issue

Section

บทความวิจัย