จุลินทรีย์ในลำไส้กับการเกิดโรคอ้วนและโรคไขมันสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ GUT MICROBIOTA AND THE DEVELOPMENT OF OBESITY AND NON-ALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE

Authors

  • ปิยะนุช จงสมัคร ภาควิชาชีวเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.11.2.76-97

Keywords:

จุลินทรีย์ในลำไส้, โรคไขมันพอกตับ, โรคอ้วน, โพรไบโอติก, gut microbiota, non-alcoholic fatty liver disease, obesity, probiotics

Abstract

      จุลินทรีย์ในลำไส้ หรือ Gut microbiota มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย โดยช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ช่วยสร้างวิตามิน ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยปกป้องร่างกายจากการบุกรุกโดยเชื้อโรคภายนอก ชนิดของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เปลี่ยนแปลงไปยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนและภาวะดื้ออินซูลิน โดยทำให้ร่างกายได้พลังงานจากการย่อยอาหารมากขึ้นและนำพลังงานส่วนเกินไปเก็บสะสมในรูปไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น โรคไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) มักพบร่วมกับโรคอ้วนและภาวะ metabolic syndrome จุลินทรีย์ในลำไส้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทต่อการเกิด NAFLD และภาวะตับอักเสบ (Non-alcoholic steatohepatitis, NASH) โดยพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ที่เสียสมดุลไปทำให้เกิดการรั่วของผนังลำไส้ (gut leakiness) ส่งผลให้แบคทีเรียในลำไส้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสโลหิตและเกิดภาวะ metabolic endotoxemia ตามมาด้วยการอักเสบที่ตับในที่สุด การใช้ probiotics เพื่อปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา NAFLD และ NASH ให้ดีขึ้น

Downloads

Published

2016-11-18

How to Cite

จงสมัคร ป. (2016). จุลินทรีย์ในลำไส้กับการเกิดโรคอ้วนและโรคไขมันสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ GUT MICROBIOTA AND THE DEVELOPMENT OF OBESITY AND NON-ALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 11(2), 76–97. https://doi.org/10.69598/tbps.11.2.76-97

Issue

Section

บทความวิชาการ