ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (Medication non adherence)

Authors

  • นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.14456/tbps.2012.2

Keywords:

ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา, การไม่ใช้ยาตามสั่ง, ความร่วมมือในการใช้ยา, การใช้ยาตามสั่ง การใช้ยาตามสั่ง,

Abstract

       การรักษาจะได้ผลดีหรือไม่นั้น ปัจจัยที่สำคัญคือการที่ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการใช้ยา ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการใช้ยาจะทำให้เกิดผลเสียต่างๆมากมายทั้งการรักษาที่ไม่ได้ผล  อาจมีอาการรุนแรงขึ้น หรืออาจมีการดื้อยาที่เกิดจากการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง การสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น วิธีการสืบหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยานั้นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรง ได้แก่ การวัดปริมาณยาที่อยู่ในกระแสเลือด หรือทางอ้อมได้แก่ การให้ผู้ป่วยบันทึกเวลาที่ใช้ยา การวัดผลการรักษา การสัมภาษณ์ หรือการนับยาที่เหลือ โดยแต่ละวิธีนั้นจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ได้แก่  ภาวะความเจ็บป่วย     ยาและแบบแผนการรักษา       บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และผู้ป่วย การแก้ไขปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยานั้นทำได้โดยการให้คำแนะนำทั้งในเรื่องโรคและการใช้ยา การปรับความเชื่อ การวางแผนการรักษาให้เหมาะสม ตลอดจนเน้นให้ผู้ป่วยเข้ามาร่วมในการวางแผนการรักษา การที่เภสัชกรมีความเข้าใจในเรื่องความไม่ร่วมมือในการใช้ยาจะช่วยป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผน การรักษาร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ต่อไป

Downloads

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ