องค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ทางชีวภาพ และการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ของน้ำมันพืช

Authors

  • ชุติมา ลิ้มมัทวาภิรัติ์ ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สนทยา ลิ้มมัทวาภิรัติ์ ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.7.1.89-106

Keywords:

Vegetable oils, fatty acids, antioxidant, biological activity, antilipidemic activity

Abstract

       น้ำมันพืชที่เหมาะสมต่อการนำมาบริโภค ควรประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนในปริมาณสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันทรานส์ในปริมาณต่ำ นอกจากนี้ควรมีสารต้านออกซิเดชันในปริมาณสูงด้วย น้ำมันพืชมีฤทธิ์ทางชีวภาพสำคัญ เช่น ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด และฤทธิ์ต้านอักเสบ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการหรือโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคตาบอดกลางคืน โรคกระเพาะอาหาร และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการบริโภคน้ำมันพืชจะต้องทราบถึงข้อควรระวังในการเลือกบริโภคน้ำมันพืชด้วย โดยเฉพาะน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันทรานส์ในปริมาณสูง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้

 

Downloads

How to Cite

ลิ้มมัทวาภิรัติ์ ช., & ลิ้มมัทวาภิรัติ์ ส. (2013). องค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ทางชีวภาพ และการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ของน้ำมันพืช. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 7(1), 89–106. https://doi.org/10.69598/tbps.7.1.89-106

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ