เส้นใยแลกเปลี่ยนประจุกับการประยุกต์ใช้ทางเภสัชกรรมIon exchange fibers and their pharmaceutical application

Authors

  • ทศพล นิจอนันต์ ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.7.1.149-165

Keywords:

เส้นใยแลกเปลี่ยนประจุ, การนำส่งยา, การประยุกต์ใช้ทางเภสัชกรรม

Abstract

        เส้นใยแลกเปลี่ยนประจุเป็นระบบนำส่งยารูปแบบหนึ่งที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยยาโดยการแลกเปลี่ยนประจุเช่นเดียวกับเรซินแลกเปลี่ยนประจุ เส้นใยแลกเปลี่ยนประจุมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดนาโนเมตร มีข้อดีหลายประการเหนือกว่าเรซินแลกเปลี่ยนประจุซึ่งมีขนาดอนุภาคระดับไมโครเมตร ดังนั้นจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในการนำมาใช้เป็นระบบนำส่งยา วิธีการผลิตเส้นใยแลกเปลี่ยนประจุมี 2 วิธี ได้แก่ 1) การผลิตจากพอลิเมอร์ที่แตกตัวเป็นประจุ (ionic polymers) 2) การผลิตจากพอลิเมอร์ที่ไม่แตกตัวเป็นประจุ (non-ionic polymers) เส้นใยแลกเปลี่ยนประจุมีทั้งชนิดประจุบวกและประจุลบขึ้นกับชนิดของหมู่ฟังก์ชันที่อยู่บนเส้นใยแลกเปลี่ยนประจุ การประยุกต์ใช้เส้นใยแลกเปลี่ยนประจุจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับประจุของตัวยาที่ต้องการนำส่ง การประยุกต์ใช้เส้นใยแลกเปลี่ยนประจุในทางเภสัชกรรมมีวัตถุประสงค์หลายประการ ได้แก่ การกลบรสขมของยา การเพิ่มเสถียรภาพตัวของยา การนำส่งยาและควบคุมการปลดปล่อยยาในเวลาและบริเวณที่ต้องการ เป็นต้น

Downloads

How to Cite

นิจอนันต์ ท. (2013). เส้นใยแลกเปลี่ยนประจุกับการประยุกต์ใช้ทางเภสัชกรรมIon exchange fibers and their pharmaceutical application. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 7(1), 149–165. https://doi.org/10.69598/tbps.7.1.149-165

Issue

Section

บทความฟื้นฟูวิชาการ