การสำรวจประสบการณ์พัฒนาวิชาการของเภสัชกรภายใต้กรอบการศึกษาต่อเนื่องตามข้อบังคับของสภาเภสัชกรรม (SURVEY STUDY OF PHARMACISTS’ ACADEMIC DEVELOPMENT FOLLOWING THE MANDATORY CONTINUING EDUCATION OF THE PHARMACY COUNCIL OF THAILAND)

Authors

  • Rapeepun Chalongsuk Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace Campus,Nakhon Pathom
  • Kwunjira Sricharuphruek Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace Campus,Nakhon Pathom
  • Nichapat Changpood Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace Campus,Nakhon Pathom
  • Parichat Kijmartsuwan Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace Campus,Nakhon Pathom
  • Pongsakorn Plutsasophee Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University, Sanamchandra Palace Campus,Nakhon Pathom

DOI:

https://doi.org/10.69598/tbps.12.1.17-31

Abstract

การศึกษาต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้มั่นใจว่าเภสัชกรให้บริการเภสัชกรรมด้วยความรู้ที่ทันสมัยและมีการพัฒนาทักษะในการประกอบวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2558 เภสัชกรทุกคนที่ประกอบวิชาชีพในประเทศไทยต้องรายงานการศึกษาต่อเนื่องต่อสภาเภสัชกรรม แต่รายงานเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของเภสัชกรที่เผยแพร่พบว่ามีจำนวนไม่มาก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ การประเมินการพัฒนาตนเองของเภสัชกร และประเมินความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับเกี่ยวกับการศึกษาต่อเนื่องและการต่ออายุใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพฉบับล่าสุด (พ.ศ. 2558) แบบสอบถามได้ถูกส่งทางไปรษณีย์ไปให้เภสัชกรจำนวน 990 คนซึ่งถูกเลือกตามสัดส่วนของสาขาวิชาชีพในช่วง วันที่ 18 มกราคม 2559 ถึง วันที่ 18 มีนาคม 2559 แบบสอบถามได้รับกลับคืนร้อยละ 33.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80.5) มีประสบการณ์ในการพัฒนาวิชาการโดยรูปแบบของการเข้าร่วมประชุมวิชาการ (ร้อยละ 90.3) และการศึกษาบทความด้วยตนเอง (ร้อยละ 52.3) ตามลำดับ แต่การเข้าร่วมประชุมวิชาการมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ากิจกรรมอื่น ๆ  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาต่อเนื่องแต่ไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับเกณฑ์การกำหนดหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์การพัฒนาวิชาการของเภสัชกรในช่วงที่ผ่านมาทั้งในรูปแบบของกิจกรรมของการพัฒนาวิชาการและจำนวนครั้งของการเข้าร่วมการพัฒนาวิชาการ แสดงให้เห็นว่าเภสัชกรน่าที่จะมีความพร้อมในการปฏิบัติตามข้อบังคับฯ ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ดียังมีประเด็นที่อาจจะเป็นปัญหาในการศึกษาต่อเนื่อง ได้แก่ จำนวนกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องที่ในปัจจุบันมีจำนวนน้อย และการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องยังไม่ครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อเนื่องของกิจกรรมบางประเภทค่อนข้างสูง ดังนั้นสภาเภสัชกรรมควรเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนและประสานการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องให้สอดคล้องกับลักษณะงานประจำของเภสัชกรในแต่ละกลุ่ม รวมทั้งพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลหน่วยกิตศึกษาต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ

Continual education (CE) is essential to ensure the ongoing growth of pharmacists’ knowledge, professionalism, procedural skills, and practice-based improvement, assuring quality patient care. From March 27, 2015, CE was a mandatory requirement for pharmacists working in Thailand. There is paucity of data exploring pharmacists’ self-development. The objectives of this study were to assess the professional development of Thai pharmacists and their knowledge about the last CE criteria for relicensing (B.E. 2558). The data were collected from 990 quota sampling pharmacists by a mailed self-administered anonymous questionnaire from Jan 18, 2016 to March 18, 2016. The response rate was 33.5%. Analysis of the data showed that the majority (80.5%) of respondents had experienced academic self-development. The main activities in which pharmacists participated were attending academic seminars (90.3%) and self-study from articles in journals (52.3%). Attending academic seminars, however, were more expensive than the other activities. Most of the pharmacists in the sample group knew the purpose of CE but half of them ignored the criteria of CE credits. The data relating to their self-development experience showed that pharmacists could comply with the mandatory CE requirements of the Pharmacy Council of Thailand, however the quantity, the delivery of the CE program and the cost of participation in some activities were identified as major barriers to accessing CE activities. The Pharmacy Council of Thailand should encourage the CE unit to increase CE programs, to develop a variety of CE activities related to pharmacists’ duties and to install an efficient CE recording system. 

Downloads

Published

2017-06-15

How to Cite

Chalongsuk, R., Sricharuphruek, K., Changpood, N., Kijmartsuwan, P., & Plutsasophee, P. (2017). การสำรวจประสบการณ์พัฒนาวิชาการของเภสัชกรภายใต้กรอบการศึกษาต่อเนื่องตามข้อบังคับของสภาเภสัชกรรม (SURVEY STUDY OF PHARMACISTS’ ACADEMIC DEVELOPMENT FOLLOWING THE MANDATORY CONTINUING EDUCATION OF THE PHARMACY COUNCIL OF THAILAND). Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 12(1), 17–31. https://doi.org/10.69598/tbps.12.1.17-31

Issue

Section

Original Research Articles