ความสำคัญของแหล่งพันธุกรรมพืชในประเทศไทยและอาเซียนต่อการพัฒนาประเทศ (Importance of Plant Germplasm in Thailand and Asean for Country Development)

Authors

  • Songpol Somsri Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives

DOI:

https://doi.org/10.14456/tjg.2014.6

Abstract

การสำรวจ รวบรวม จำแนก และอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชเพื่อเก็บรักษาไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ในแปลงรวบรวมพันธุ์ และในสภาพถิ่นเดิม รวมทั้งการศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมพืช ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม. พ.ศ. 2549  ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 จากการศึกษาใน กลุ่มไม้ผลสำคัญ รวบรวมได้ จำนวน 1,403  ตัวอย่างพันธุ์   กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่มีศักยภาพในการแข่งขัน รวบรวมได้ 732 ตัวอย่างพันธุ์  กลุ่มไม้ผล รวบรวมได้จำนวน 955 ตัวอย่างพันธุ์ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ รวบรวมได้จำนวน 795 ตัวอย่างพันธุ์ กลุ่มพืชสวนอุตสาหกรรมรวบรวมได้ 385 ตัวอย่างพันธุ์  กลุ่มผักพื้นเมือง รวบรวมได้ 479 ตัวอย่างพันธุ์และกลุ่มพืชสมุนไพร รวบรวมได้ 1,133 ตัวอย่างพันธุ์ การศึกษาและประเมินคุณค่าพันธุกรรมพืชและจัดทำฐานข้อมูลตามแบบบันทึกของ IPGRI ได้แก่ กลุ่มไม้ผลสำคัญ จำแนกได้ 1,205 ตัวอย่างพันธุ์   กลุ่มไม้ผล จำแนกได้ 786 ตัวอย่างพันธุ์ กลุ่มพืชสวนอุตสาหกรรม จำแนกได้  87  ตัวอย่างพันธุ์ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับจำแนกได้ 477 ตัวอย่างพันธุ์ และกลุ่มผักจำแนกได้ 219 ตัวอย่างพันธุ์   สำหรับเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุ์กรรมพืช ได้ศึกษาเทคโนโลยีการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ในธนาคารเชื้อพันธุ์ของสมุนไพรชนิดต่างๆ และมะละกอ การเก็บเชื้อพันธุกรรมในสภาพปลอดเชื้อและสภาพเยือกแข็ง ของกล้วย เงาะ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ ส้ม มะละกอ กล้วยไม้ป่าเอื้อง กล้วยไม้สกุลหวาย 7 ชนิด พุงทะลายและชุมเห็ด การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต กวาวเครือ พลูคาว บัวบก และพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพนำไปใช้ประโยชน์ ในทางยารักษาโรค  8 กลุ่มเพื่อความงามและทำเครื่องสำอาง จากแหล่งต่างๆ จำนวน 20 ชนิดและใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและจุลินทรีย์จากแหล่งต่างๆ จำนวน 29 ชนิด

 

 

Plant Germplasm Conservation project was conducted at Thailand Department of Agriculture between October 2006 and September 2010. This project focused on 8 activities as follows: survey, collection and preliminary study of horticultural crops including 1,403 accessions of economic fruit crops, 732 accessions of economic ornamental plants, 955 accessions of fruit crops, 795 accessions of ornamental plants, 385 accessions of industrial crops, 479 accessions of native vegetables and 1,133 accessions of herbal plants, characterization and evaluation of Horticultural crops by IPGRI descriptors, application of conservation technology in horticulture crops including seed genebank  for papaya and herbal plants; tissue culture and cryopreservation for banana, rambutan, coconut, citrus, papaya, native orchids and herbal plants, and lastly collection and characterization of Kwao Kreur (red and black), Plu-Kao (red, green, purple and mottle leaf cultivars), Asiatic pennywort and herbal plants for other purposes such as medicinal, cosmetics and pesticides.

References

ทรงพล สมศรี (2548) การอนุรักษ์เชื้อพันธุ์พืชของกรม

วิชาการเกษตร. วารสารพืชปลูกพื้นเมืองไทย ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เมษายน 2548. น. 33–40.

ทรงพล สมศรี (2554) โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืช. ผลงานแผนงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปี 2549–2553 กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ. น. 3549–3769.

Downloads

Additional Files

Published

2014-05-01

Issue

Section

Review Articles